ทบทวนชีวิตเกือบ 7 ปีในบ้านเกิด

 



#SelfReflection กลับมาอยู่ไทยเกือบจะครบ 7 ปีแล้วสินะ ช่วงปีที่ผ่านมาได้เจอคนเยอะแยะ ทั้ง ๆ ที่โดนกักตัวกันทั้งโลกช่วงโควิด แต่ก็ทำให้เห็นมุมมองใหม่ ๆ ที่สืบเนื่องจากโรคระบาด แบบ 100 ปีจะมีซักที
#มนุษย์เราปรับตัวได้ ทักษะในการเอาตัวรอดจะ turn on และสร้างสรรวิธีการใหม่ ๆ ตามวิทยาการที่เรียนรู้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเรื่อง sustainability ที่เราบ้าคลั่งกับมันมากในช่วงวัยรุ่น และยังบ้าคลั่งอยู่ในปัจจุบัน

ตั้งแต่ปี 2005 นิสิตบัญชี-บัญชี ปี 3 อายุ 20 ปี รู้สึกอินมาก กับการได้เห็น #งบการเงิน ของบริษัท ที่จ่ายค่าปรับปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำแค่หลักพัน แล้วจบ ไม่ต้องไป #เยียวยาชาวบ้านริมน้ำ ที่ทำให้น้ำที่พวกเค้าใช้อุปโภคบริโภค ใช้จับปลา หาเลี้ยงชีพ มันสูญเสียไป หรือจ่ายค่า #restoration ของแม่น้ำ ตรงนั้น เป็นต้นทุนของคนอื่นที่ต้องไปหาทางดิ้นรนกันเอง ความรู้สึกที่ได้เรียนรู้ตรงนี้ เป็นแรงผลักดัน ที่อยากทำงานในด้านที่บังคับ ขู่เข็ญ หรือชักชวนให้ธุรกิจต้องเก็บกวาด และจ่ายสิ่งที่ควรจะจ่าย #activist mode on มาก

ปี 2006 อ. ที่ปรึกษา แนะให้ไป #อาสา ช่วยงานวิจัยของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยที่เยอรมนี เริ่มเห็นแสงสว่างจากปลายอุโมงค์ เพราะมหาวิทยาลัยนี้ มีสอน MBA for Sustainability Management ด้วย เลยเสนอตัว ช่วยแปลเอกสารของบริษัทผลิตกระดาษสาที่เชียงใหม่เป็นภาษาเยอรมันให้เหล่านักวิจัย ที่ตอนนั้นทักษะภาษาเยอรมันก็งู ๆ ปลา ๆ แบบแปลเป็นคำ ๆ แล้วให้เค้าไปจัดการกันต่อ

ปี 2006 เรียนจบ เริ่มทำงานเป็น assistant auditor ที่ EY เป็นงานที่โอเค เรียนรู้ระบบของบริษัทที่เข้าไปตรวจสอบ การลงรายละเอียด ต้องช่างสงสัย ไม่รู้ตรงไหนถามลูกค้า แต่ไม่คิดว่าจะเป็นงานที่อยากจะใช้เลี้ยงชีพ พอเดือนกันยา เดินไปขออนุญาตพี่ Partner เป็นกรณีพิเศษ เพราะยังทำงานไม่ผ่าน probation ว่า

“ฝ้ายอยากไปเข้า Training ของมหาวิทยาลัยจากเยอรมนี ที่จะมาจัด Training of Trainers for SE Asia เป็นเวลา 10 วัน”

ซึ่งพี่ Partner คุณณรงค์ อนุญาตให้ไปเป็นกรณีพิเศษ 🙏🏼 จำเหตุการณ์ได้ดี เพราะระหว่างที่กำลังอยู่ในห้องประชุม เกิดการ #รัฐประหาร จ้ะ พวกฝรั่งเยอรมันแอบตกใจ แต่พวกคนร่วมสัมมนาจากอินโด มาเลย์ และเวียดนาม ชิล ๆ อยากเที่ยวกรุงเทพต่อ

ปี 2007 อายุ 23 ปี เป็นการเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรก ซื้อตั๋วเที่ยวเดียว ไปเรียนต่อที่เยอรมนี สอบภาษาเยอรมันผ่านมาด้วยความยากลำบาก และต้องไปสอบวัดระดับอีกขั้นให้ถึง C1 ที่เยอรมนี ก็ยาก เหนื่อย แต่สนุกมากก เพราะมันท้าทายความสามารถดี คือ ชีวิตไม่ค่อยชอบอะไรที่มันง่าย ๆ คือถ้ามันง่าย เราไม่ต้องทำก็ได้มั้ง คงมีคนอื่นทำได้เยอะแยะ ข้อดีของเรา ที่เพื่อนเคยบอกคือ #ดื้อด้านและตามติด สไตล์ผี ก็แบบ ซาดาโกะ แห่ง The Ring เป็นแบบ I never stop นานแค่ไหนก็รอได้ ถ้าต้องรอ #อีโก้สูงตั้งแต่เด็ก

เรียนจบด้วยเกรดกลาง ๆ หางานทำก็ไม่ง่าย เพราะต้องไปสัมภาษณ์งานแข่งกับคนเยอรมัน และคนจากประเทศอื่นใน EU ที่พูดเยอรมันได้ดีกว่า และยังได้ภาษาอื่นอีก นอกจากภาษาอังกฤษ ความหวังริบหรี่ แต่สุดท้าย ก็ได้ทำงานในบริษัทที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนของคนเยอรมัน ที่เราเป็นคนต่างชาติคนเดียว #เป็นความภาคภูมิใจ ที่ทำสำเร็จ พอเริ่มงาน ก็น้ำตาไหลเป็นระยะเหมือนกัน โลกของการทำงานกับโลกมหาวิทยาลัย มีความต่างอยู่เยอะ ยังโชคดี ที่เพื่อนร่วมงานคนเยอรมัน ชอบเมืองไทย เลยคุยกันได้เยอะ

นิสัยใจคอ ที่เป็น ENTJ-A แบบเรา เข้ากันได้กับคนเยอรมันมากกก คือเถียงกันหน้าดำหน้าแดง แต่อยู่บนพื้นฐานคือ #แก้ปัญหา และไม่เอามาเป็นอารมณ์ส่วนตัว ซึ่งหาได้ยากมากในการทำงานในบริบทของคนไทย มีบางครั้งที่เราเผลอเรอ เอา #ตัวตน เข้าไปเอี่ยว ก็จะโดนเบรคแบบต่อหน้า แล้วคุยต่อ พอจบก็ไปหาที่ดื่มเบียร์ แล้วคุยเรื่องบอลต่อ 🙄 แต่ข้อเสียคือ พอมันไม่ personal ก็มาพร้อม #ความเย็นชาในขั้นสุด ที่สังคมอบอุ่น ญาติเยอะแบบคนไทย จะรับได้ยาก การพูดคุยกันยามว่าง ก็ค่อนข้างจะเป็นเรื่องเป็นราวเกี่ยวกับปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม แม้กระทั่งการทำแท้ง การคุมกำเนิด ที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน แบบค่ายาคุมของผู้หญิง ผู้ชายต้องหารครึ่งด้วย

อาจจะเป็นเพราะมหาวิทยาลัยที่เรียน เป็นการรวมกลุ่ม activist ในหลากหลายด้าน เพื่อนจะพูดกันตรง ๆ ไม่มานั่งโอ๋มานั่งเข้าข้างในสิ่งที่เราทำมันดีมันถูก ถ้ามันไม่ถูก ก็จะบอกกันตรงนั้น ไม่มางอนไร้สาระ #ชอบบบบ ในบางครั้งเวลาที่นั่งรวมกลุ่มกันถกปัญหา เพื่อนคนนึงจะทำตัวเป็นคนค้านในทุกประเด็น ส่งผลให้การถกเถียงมันขยายไปทุกแง่มุม จนเรางง ต้องมาถามนอกรอบว่า “เฮ้ย เธอคิดแบบนั้นจริง ๆ เหรอ?” เพื่อนตัวดี ก็จะบอกว่า “เปล่าอ่ะ แค่ไม่อยากให้ทุกคนคุยไปในทางเดียวกันหมด มันน่าเบื่อ และก็น่าจะไม่ได้อะไรจากการคุยกับคนที่คิดเหมือน ๆ กัน”

เคยไป #ประท้วง ครั้งแรกในชีวิต ก็คือที่ Lüneburg เรื่องการต่อต้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แบบไปยืนตรงทางรถไฟ ที่จะมีขบวนขนกากนิวเคลียร์ผ่านเมืองเรา แบบตื่นเต้นและสนุกมากกกก เริ่มเข้าใจว่าการประท้วงเป็นเรื่องปกติ เป็น #การตรวจสอบการทำงานของรัฐ จากภาคประชาชน เพื่อนคนเยอรมันยังบ่น ว่าคนของเค้ายังไม่เป็น active citizens แบบคนฝรั่งเศส ที่ประท้วงบ่อยกว่าเยอะ

เรื่อง #circular economy เป็นสิ่งที่เรียนตั้งแต่ปี 2007 คุยกันเรื่องการแก้ปัญหานี้ ตอนนั้น Prof. Michael Braungart สอนเรื่อง #cradle2cradle ก็มีการแย้ง Prof. แบบไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหม #ชอบบบ ระบบ recycling ของเยอรมนีดีมากอยู่แล้ว แต่การแก้ปัญหาขยะล้นโลก มันควรเริ่มจาก design ว่าเรา design ขยะออกมารึเปล่า และสุดท้าย ถึงแม้เราจะมี #นวัตกรรม ที่ทำให้มีผลิตภัณฑ์ที่รักษ์โลก 100% มันก็ไม่ช่วยอะไร ถ้าเราไม่ปรับ #พฤติกรรมการบริโภค ที่เกินพอดี สุดท้ายก็ใช้พลังงานเยอะเกินไปเพราะการบริโภคที่ไม่บันยะบันยัง innovation ที่พูดกันจนเฝือ มันควรจะไม่ใช่ #ของ แต่เป็นการปรับ #วิธีคิด #วัฒนธรรม #พฤติกรรม มากกว่า ตอนจบ มีการสรุปว่า ถ้าเราจะ save the planet เราก็ต้องทำให้เกิด human extinction ซะ 😑😑 จบได้ DARK สมกับเป็นชาวเยอรมัน

วิทยาพนธ์ทำเรื่อง #waterfootprint ตั้งแต่ปี 2011 กว่าจะหาคนมาทำวิจัยด้วยกัน ก็หายากมากกในสมัยนั้น และได้เรียนรู้ว่า โครงสร้างของภาครัฐที่ดูแลเรื่องน้ำ มันทั้ง ทับซ้อน ไร้ประสิทธิภาพ และต่างคนต่างทำแบบ silo

มองกลับไป เรานี่ก็มีความ #pioneer ที่อยากเรียนอยากทำงานเรื่อง sustainability ตั้งแต่อายุ 20 ทั้งที่ไม่มีเพื่อนคนไหนสนใจเรื่องนี้ด้วยซ้ำ และก็ไม่เคยหยุดหาความรู้หรือศึกษาการแก้ปัญหาด้านนี้เลย คิดว่าคงทำต่อเนื่องไปจนกว่าจะหมดเวลาล่ะนะ

ในฐานะคนทำงานเป็น consultant ด้านนี้ ตอนที่กลับมาไทยเมื่อ 2014 รู้สึกเหนื่อยกับการอธิบายให้กลุ่มทุนใหญ่เข้าใจ ว่าการทำธุรกิจที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม มันทำได้จริง ๆ และผลกำไรจะสูงกว่าปกติด้วยซ้ำ ตอนแรกยากมาก เพราะตลาดคนไทยก็อาจจะยังไม่พร้อม ร้าน refill station แบบที่เห็นในไทยตอนนี้ สมัย 7 ปีก่อนตอนเรากลับมา มันยังไม่บูมเลย หรือจริง ๆ ยังไม่มีด้วยซ้ำ เคยคุยกับเพื่อนคนไทย ทุกคนก็บอกว่า ไม่คุ้มหรอก คนไทยชอบความสะดวกสบาย ไม่วางแผนในการจับจ่ายซื้อของ แต่ตอนนี้ เห็นการเติบโตด้านนี้มากขึ้น เช่นเดียวกับภาคธุรกิจ ในช่วง Covid-19 ระบาด ธุรกิจกลับมาหาและจ้างให้ช่วยทบทวน sustainability strategy อีก สำหรับปี 2021-30 บอกตรง ๆ ว่าประทับใจมาก เพราะเป็นข้อพิสูจน์ ว่างานที่เราส่งมอบมันมีคุณภาพ มันทำได้จริง Chief Sustainability Officer เดินเข้ามาคุย แล้วยังบอกว่า "คุณฝ้าย ตอนนี้ผมคุยกับคุณฝ้ายรู้เรื่องแล้วนะ เมื่อ 5 ปีที่แล้วผมยังงง ๆ อยู่เลย" บริษัทกลับมาครั้งนี้ เราเห็น #พัฒนาการ ทั้งในเชิงตัวเลข และในเชิงความเข้าใจ ว่ามันจำเป็นแค่ไหน ที่คุณต้องใส่ใจเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กำไรด้วย บอกได้ว่ารู้สึก fulfilled ทั้งในฐานะคนทำงานและส่วนตัว

#สรุป คือถ้าเป็นคนที่ชอบแก้ปัญหา ประเทศไทยถือเป็นประเทศ #ในอุดมคติ เลยนะ เพราะมีปัญหาให้แก้ทุกอณู อยู่ประเทศที่พัฒนาแล้วคงน่าเบื่อ เพราะอะไร ๆ ก็ได้รับการจัดการดูแลอย่างเป็นระบบ

#สุขสันต์วันตรุษจีน กับประเทศที่ฉลองมันได้ทุกโอกาส

Kommentare

  1. เขียนดีมากกกกกก อ่านแล้วไฟลุกเลยครับ ขอบคุณที่ช่วยมาแชร์ประสบการณ์นะครับ ดีมากกกๆเลย

    AntwortenLöschen
    Antworten
    1. ยินดีและขอบคุณค่ะ

      Löschen
  2. แล้วบังมากก ทำwater footprint เหมือนกันแต่ทำใช้ LCA ในการประเมินครับ ถ้ามีโอากาสอย่างจะร่วมงานกันจังเลย

    AntwortenLöschen
    Antworten
    1. โอ้ว เหรอคะ ดีจังที่มีคนสนใจเรื่องนี้

      Löschen
  3. Dieser Kommentar wurde vom Autor entfernt.

    AntwortenLöschen

Kommentar veröffentlichen

Beliebte Posts aus diesem Blog

ส่งสัมภาระเกือบ 400 กิโลกรัมจากเยอรมันกลับไทยแบบ DIY

เหรียญสองด้านของการเป็น Au pair ในต่างแดน

ลองมาทำ Résumé เก๋ ๆ ด้วย Powerpoint ดูนะคะ