ตรวจข้อสอบของนักศึกษาปริญญาโทของมหาวิทยาลัยเยอรมัน

 



#สอนหนังสือ ชีวิตของนักศึกษา ป เอก ควบการสอนหนังสือนักศึกษา ป โท สิ่งที่ตามติดจากการสอนหนังสือ ที่เราสนุกกับการออกแบบเนื้อหา >>>
คือการออกข้อสอบ ที่ไม่ค่อยสนุกเท่าไหร่ >>>
ตามมาด้วยสิ่งที่ inevitable คือ #การตรวจข้อสอบ และการให้คะแนน 😖😫
-
ใครสนใจรอ vlog ที่เล่าเรื่องการเรียนการสอน ESG ที่นี่ ก็ไปตามดูได้ที่ #FAQmich https://youtu.be/X7FDsSvoYt0
-
ที่ยากมากกกกก คือการแกะลายมือ ของนักศึกษาที่มาจากนานาชาติมากกก บางคนเขียนตัวอักษรตามปกติ แต่ส่วนใหญ่เขียน #ตัวเขียน จ้าาา 😭😭😭 อ่านยากมากเลยยยยอ่าา ต้องตั้งสติ อ่านลายมือคุณ ๆ เค้าอีกที ที่น่าสนใจคือลายมือของ #นักศึกษาเยอรมัน จะมีเอกลักษณ์มากกก คือ
  1. จะเขียนเป็นตัวพิมพ์ปกติ ไม่ใช่ตัวเขียน
  2. ตัวอักษรจะตรงและไม่เอียง
  3. เลข 1 จะเขียนหางยาวมาก จนมองผ่าน ๆ จะเหมือนเครื่องหมายสามเหลี่ยม
  4. ตัว M กับ W จะมีลักษณะที่แบบ เห็นแล้วจะคุ้นเคยมากเพราะเพื่อน ๆ คนเยอรมันเขียนแบบนี้อ่า

ใครมีประสบการณ์ต้องวุ่นวายกับลายมือ มาแชร์ได้นะคะ
-
ผลสอบอย่างไม่เป็นทางการในส่วนของเรา ข้อสอบจะแบ่งเป็นปรนัย (multiple choice) และอัตนัย (short answer) โดยเราให้น้ำหนักคะแนนของอัตนัย 70% พบว่า
  1. นักศึกษาที่ได้คะแนน TOP 3 เป็นชาวเยอรมันทั้งหทด
  2. สัดส่วนของนักศึกษาเยอรมันในโปรแกรมคือ 10% ที่เหลือคือนานาชาติทั้งนั้น
  3. นักศึกษาที่ทำคะแนนส่วนปรนัยได้เต็ม 100 คือนักศึกษาจาก Nigeria ที่ทำคะแนนส่วนอัตนัยได้ไม่ถึง 50%
  4. นักศึกษาที่ TOP ตอบปรนัยผิดไป 1 ข้อ แต่ทำส่วนอัตนัยได้ดีมากกกก อ่านแล้วน้ำตาไหล ปลื้มปริ่ม ว่าฟังที่เราสอนรู้เรื่อง
จากการสังเกตในการสอน พบว่านักศึกษาเยอรมันเป็นกลุ่มที่ระหว่างที่เราสอนจะคุยกันตลอดเลยย จนเราแอบสงสัยว่านางฟังที่เราพูดด้วยรึ แต่ผลสอบออกมา แสดงว่านางฟังจริง ๆ แฮะ
-
จากการสังเกตในการตรวจข้อสอบ พบว่านักศึกษาต่างชาติหลาย ๆ คน คงมีปัญหาเรื่อง #ภาษาอังกฤษ จริง ๆ (ไม่ต้องไปพูดถึงเยอรมันเลย บางคนก็เปิด dict ระหว่างที่สอบด้วย)
  • ทั้งการเขียนที่บางคนเขียนเป็นคำ ๆ
  • หรือประโยคที่แบบขาด ๆ เกิน ๆ
ที่เราก็จะเน้นว่าเจอ keyword อะไรบ้าง แล้วประเมินความคิดความเข้าใจของนักศึกษาว่าเข้าใจ concept แค่ไหน ค่อยให้คะแนนจากตรงนั้น
-
ประเมินการสอนและข้อสอบของตัวเอง พบว่า
  • TOP ได้คะแนน 97%
  • ต่ำสุด ได้คะแนน 9%
  • ค่า mean และ median ใกล้เคียงกัน คือเกิน 50 นิด ๆ ทั้งคู่ การกระจายตัวของคะแนนค่อนข้างสม่ำเสมอ
  • 13% เป็นคำถามที่ง่าย เพราะนักศึกษาตอบถูกเกิน 85%
  • 33% เป็นคำถามที่ยาก เพราะนักศึกษาตอบถูกเพียง 35% โดยมีนักเรียนที่ TOP คนเดียวที่ตอบคำถามเหล่านี้ถูกหมด
-
สรุปเอาเองว่า
  1. เราสอนรู้เรื่องในระดับหนึ่ง เพราะข้อสอบที่ให้นักศึกษาเขียน ถ้าไม่เข้าใจ case studies ที่ใช้สอนในห้อง จะไม่สามารถตอบได้ตรงเลย
  2. ข้อสอบไม่ได้ยากหรือง่ายจนเกินไป คือ
  • ถ้าอ่าน presentation ละเอียดและเข้าเรียน จะได้คะแนนเกิน 80%
  • ถ้าอ่าน presentation ละเอียด แต่ไม่เข้าเรียน จะได้คะแนน 70-80%
  • เข้าเรียนสม่ำเสมอ แต่อ่านไม่ละเอียด ก็จะได้ 55-70% (อันนี้คือเรางงมาก เพราะบางคน ถาม-ตอบ ในระหว่างเรียนตลอด แต่กลับทำคะแนนตรงปรนัยได้ไม่ดี ที่ถ้าแค่อ่านและจำได้ ก็จะตอบถูกอ่ะ)
  • ไม่เข้าเรียนเลยและไม่อ่านด้วย ก็เป็นกลุ่มต่ำกว่า 50%
.
#สุดท้ายนี้ Prof 2-3 คนที่เราส่ง presentation ไปให้ดู ชมเป็นเสียงเดียวกันว่าทำได้สวยมากกกกก 😚🥳
.
แหงล่ะ ทำอาชีพ business consultant มาเป็นสิบปี หนึ่งในทักษะที่ใช้ทำมาหากินคือ presentation มั้ย? ทำได้ไม่ดีนี่ ก็เสียชื่ออาชีพหลักของตัวเองอ่ะจิ
-
หน้าตาตอนนี้ ที่แบบหัวจะปวด และอยากหยุมหัวนักเรียน ที่เขียนข้อสอบเหมือนจะให้เราถอดรหัส

Kommentare

Beliebte Posts aus diesem Blog

ส่งสัมภาระเกือบ 400 กิโลกรัมจากเยอรมันกลับไทยแบบ DIY

ลองมาทำ Résumé เก๋ ๆ ด้วย Powerpoint ดูนะคะ

เหรียญสองด้านของการเป็น Au pair ในต่างแดน