เชิญชวนมาสูดกลิ่นของหนังสือชีวิต ณ ห้องสมุดเที่ยงคืน


The Midnight Library หรือ ห้องสมุดเที่ยงคืน เป็นหนังสือที่เอาไว้เยียวยาจิตใจได้ดีระดับหนึ่ง ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า เพราะเนื้อเรื่องมีการพูดถึงเรื่องการฆ่าตัวตายอยู่เป็นระยะ ๆ หากอ่านไม่จบเล่มอาจจะได้ message ที่ผิดพลาดได้

วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา "เส้นเรื่องหลัก"​ ที่หนังสือจะสื่อในความเข้าใจของเรา คือ

"ชีวิตมันมีความเป็นไปได้และศักยภาพอย่างไม่สิ้นสุด และเมื่อเราตัดสินใจเลือกแล้ว เราต้องยอมรับทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่ไม่ดีจากทางเลือกนั้น"

ซึ่ง message ตรงนี้สำหรับเรา ไม่ได้ ว้าว อะไรขนาดนั้น เนื่องด้วยเราอ่านหนังสือปรัชญา หนังสือธรรมะ และฝึกเจริญสติมานานกว่า 10 ปี ก็เลยคิดว่าถ้าศึกษาด้านนี้มานาน มันก็เป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติ คือคุณจะรู้ได้ยังไงว่านี่คือความสุข ถ้าคุณไม่เคยผ่านความทุกข์มาก่อน ความสุขและทุกข์ก็ยังมี degree ที่แยกย่อยไปได้อีก จะหวังให้ชีวิตมีแต่ความสุขอย่างเดียว มันเป็นเรื่องที่ฝืนธรรมชาติมาก และเราเรียนรู้อะไรได้มากจากความทุกข์มากกว่าความสุข

-

นอกจากนี้ ตอนเริ่มต้น ที่ตัวเอก Nora Seed อายุ 35 ปีแล้ว (ที่ก็ถือว่าไม่ได้อายุห่างจากเรามาก) แต่ชีวิตยังเหนือไม่ไปใต้ไม่มา เราก็เริ่มเบ้ปากล่ะ ว่าจะอ่านต่อดีมั้ยนะ? แบบทำไมยังตั้งตัวไม่ได้อีก?

แต่การเขียนของ Haig สามารถดึงความสนใจให้เราอ่านต่อได้จนไปถึงส่วนก่อนสุดท้าย ที่เราเริ่มรู้สึกว่าเนื้อเรื่องมันแผ่วล่ะ ไม่ได้อยากรีบพลิกหน้าต่อไปเท่าไหร่ (288 หน้า เราอ่านวันละ 100 หน้า)

ส่วนที่ชอบในหนังสือเรื่องนี้ คือ gimmick ต่าง ๆ ที่ใส่มาในเรื่องที่เรียกได้ว่าเชื่อมโยงกับชีวิตของเรามาก (ยกเว้นเรื่องเล่นหมากรุก) คือ มีท้ังดนตรี classic การท่องเที่ยวไปเมืองต่าง ๆ ที่หลาย ๆ แห่งเราก็เคยไปมาแล้ว (ยกเว้นขั้วโลกเหนือ)

-

เรามองว่าเป็นหนังสือ How-To แบบ fiction ที่ร้อยเรียงเนื้อเรื่องได้น่าอ่าน แม้เส้นเรื่องหลักไม่ได้แปลกใหม่ แต่เราชอบ gimmick ที่โผล่มาในเรื่องมากกว่ามาก ๆ และมี impact ขนาดที่ทำให้เราสั่งซื้อ Walden ของ Henry David Thoreau มาดองไว้ได้สำเร็จ หลังจากที่หลีกเลี่ยงมานานมากกกก 

สิ่งที่ trigger ให้เราตัดสินใจซื้อ คือระหว่างที่พักจากการอ่านช่วงหน้า 200 กว่า ๆ แล้วเตรียมข้าวเย็น ก็ไปกดสุ่มเลือกหนังสยองขวัญ Abattoir (2016) มาดู ที่เปิดเรื่องโดย quote นี้ของ Thoreau

“Our houses are such unwieldy properties that we are often imprisoned rather than housed by them.”

-

นอกจากนี้ องก์แรก ๆ อาจให้ความรู้สึกเหมือนอ่านหนังสือแฟนตาซี ให้กลิ่นอายเหมือนหนังเรื่อง Life of Walter Mitty (2013) แต่หลังจากนั้น มีการสอดแทรก quantum physics และผลงานของนักวิทยาศาสตร์ เช่น Dunbar, Newton และ Schrödinger รวมทั้งทฤษฎีอย่าง Gestalt psychology เข้ามาด้วย (โดยสองอย่างหลัง ก็มีที่มาจากประเทศที่พูดภาษาเยอรมันเป็นภาษาราชการ คือ ออสเตรีย เยอรมนี และสวิสเซอร์แลนด์ ก็ยิ่งเชื่อมโยงกับเราที่เรียนอยู่ที่นี่) จุดนี้ให้ความรู้สึกแปลกใหม่กว่าที่คิด รวมทั้งยังมีความร่วมสมัยในแง่ที่มีการเชื่อมโยงกับวิกฤติโลกร้อน ซึ่งเป็นอาชีพหลักของเราที่ทำงานด้านนี้มาตั้งแต่ปี 2007

-

บางช่วงบางตอนก็ให้ความรู้สึก #Murakamiesque มาก เพราะเต็มไปด้วยการอ้างอิงถึง

  • ดนตรี ที่ตัวเอกมีทักษะการเล่นเปียโน (เชื่อมโยงกับที่เราก็เล่นไวโอลิน) มีทั้งเพลง classic เช่น Chopin ไปจนถึง "The Sound of Silence" by Simon & Garfunkel วงโปรดสุด ๆ ของเรา
  • นักเขียน ที่ตัวเอกเป็นนักศึกษาด้านปรัชญา หนังสือหลายเล่มที่อ้างถึงก็เป็นเล่มที่เราพอมีอยู่แล้วบ้าง เช่น Chimamanda Ngozi Adichie, Marcus Aurelius, Brontë, Camus, E. Dickinson, M. Heidegger, I. Kant, F. Nietzsche, A. Schopenhauer
  • แมวเหมียว เหมือนเป็นลายเซ็นของลุงมู ที่ก็โผล่หน้ามาให้ทาสแงวได้ชุ่มชื่นหัวใจ และนำ้ตาซึมได้ด้วย 😭
แต่ให้ความรู้สึกไม่มึน ๆ งง ๆ เท่าของ Murakami มีแค่ข้อสงสัยเดียวคือ เราจะแน่ใจได้ยังไงว่า root life คือของจริง ไม่ใช่แค่ another alternative of many lifes?
-
บางตอนยังให้ความรู้สึก cliché เหมือนกำลังอ่านบทภาพยนตร์ Hollywood ที่งานของ Murakami จะมีน้อยกว่า เช่น 

หน้า 29

"You don't go to death. Death comes to you."

Even death was something Nora couldn't do properly, it seemed. 

ตรงนี้อ่านแล้วคิดถึงหนัง Little Miss Sunshine (2006) ที่สื่อว่าตนเองเป็นคนขี้แพ้ ถึงขนาดที่ว่าการพยายามฆ่าตัวตาย ก็ยังทำไม่สำเร็จ คือล้มเหลวในทุกมิติ

"... and that when I decided to check-out early and I failed at that as well."

หน้า 36

'To fear love is to fear life, and those who fear life are already three parts dead.' 

ตรงนี้อ่านแล้วคิดถึงหนัง Meet Joe Black (1998) ตอนที่พ่อพูดกับนางเอกเรื่องการตกหลุมรัก

 "To make the journey and not fall deeply in love - well, you haven't lived a life at all."

หน้า 48

"You couldn't let a few less desirable parts put you off the whole." 

ตรงนี้อ่านแล้วคิดถึงหนัง Seabiscuit (2003) ตอนที่คนเลี้ยงม้าพูดถึงทั้งตัวม้าและจ๊อกกี้ว่า 

"You know, you don't throw a whole life away just 'cause he's banged up a little."

-

#ใครควรอ่าน เหมาะกับคนที่ต้องการ "ความหวัง" ในชีวิต หรือช่วยในการจัดการกับอาการเสียใจจากการที่ตัดสินใจผิด แบบ "รู้งี้" เล่มนี้น่าจะตอบโจทย์ ให้มองเรื่องที่เกิดขึ้นในมุมมองที่ต่างออกไป ที่ชอบมากคือตอนที่พูดถึงน้องแมวของ Nora ในหน้า 66 ว่าการที่เราโทษตัวเอง นั่นเป็นมุมมองของเรา ที่อาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงก็เป็นได้

ไม่แนะนำสำหรับคนที่กำลังจัดการกับภาวะซึมเศร้า ตามที่กล่าวไปเบื้องต้น และไม่แนะนำสำหรับนักอ่านที่อ่านหนังสือปรัชญาหนัก ๆ ​ที่ถ้าอ่านแล้วอาจจะรู้สึกเบาหวิวมาก

-

ทิ้งท้ายด้วยคำคมที่กล่าวซ้ำ ๆ ในหนังสือเรื่องนี้คือ

"Sometimes the only way to learn is to live."

ข้อคิดที่อุปมาได้ดี อยู่ที่หน้า 286

"The paradox of volcanoes was that they were symbols of destruction but also life. Once the lava slows and cools, it solidifies and then breaks down over time to become soil - rich, fertile soil."

แต่ที่เราชอบที่สุดจะอยู่ที่หน้า 104

"Disobedience is the true foundation of liberty. The obedient must be slaves."








 


Kommentare

Beliebte Posts aus diesem Blog

ส่งสัมภาระเกือบ 400 กิโลกรัมจากเยอรมันกลับไทยแบบ DIY

เหรียญสองด้านของการเป็น Au pair ในต่างแดน

ลองมาทำ Résumé เก๋ ๆ ด้วย Powerpoint ดูนะคะ