หนังสือของนักวิ่ง ที่ไม่ได้เหมาะกับนักวิ่งเท่านั้น
#murakami หลายท่านคงพอจะทราบว่า ฝ้ายเป็นแฟนหนังสือของเฮียมูแบบเหนียวแน่น อ่านหนังสือของเค้ามาหลายเล่มอยู่ แต่โดยทั่วไปแล้ว จะไม่ได้สนใจว่าคนเขียนเป็น #คนแบบไหน เพราะจะสนใจแต่ผลงานของเค้ามากกว่า และนี่เป็นครั้งแรกที่เข้าใจ ว่าทำไมเราถึงชอบงานเขียนของเค้า ผ่านหนังสือ ที่ชื่อย้าวยาวว่า “What I Talk About When I Talk About Running” หรือ ภาษาเยอรมัน "Wovon ich rede, wenn ich von Laufen rede"
ตัดสินใจซื้อมาอ่านแบบติดร่างแห เพราะสั่งซื้อมาจากเยอรมนีรวม ๆกันหลายเล่ม ไม่ได้อยากจะอ่านมากมาย แต่พอเริ่มอ่าน ก็วางไม่ลง เล่มไม่หนา (ตามมาตรฐานมูราคามิ) เพียง 160 หน้า เพราะฉะนั้นจึงสะดวกใจที่จะแนะนำให้ทุกคนลองอ่านกัน
เรื่องราวจะเป็นคล้าย #บันทึกส่วนตัว ของเฮียมู ในการ “เริ่มวิ่ง” จนเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่วิ่งขำ ๆ (?) ต่อด้วยมาราธอน (42km) ไปสุดที่ #อัลตร้ามาราธอน(100km) และไตรกีฬา 😱😱😱 คือโหดมากกกกกก
พออ่านไปเรื่อย ๆ เราก็ค้นพบว่า ตัวตนที่แท้จริงของเค้า หรือ “#คุณค่า” ที่เค้ายึดถือ มีบางส่วน ที่เข้ากันได้กับ “คุณค่า” ที่เราก็ยึดถือเหมือนกัน โดยบังเอิญ (บางทีอาจจะไม่บังเอิญก็ได้ เพราะเราชอบงานเขียนของเค้า ซึ่งคุณค่าในงานเขียน ก็ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่าง จากตัวตนของคนเขียนนั่นเอง)
หนังสือเหมาะกับใครเป็นพิเศษ? ถ้าเอาตรง ๆ ก็เหล่านักวิ่งทั้งหลาย เพื่อเรียนรู้การจัดการกับสภาพจิตใจในระหว่างการวิ่ง รวมทั้งการสร้าง “#แรงกระตุ้น” ให้อดทนฝึกซ้อมเป็นประจำ
แต่สำหรับเรา ที่ไม่ใช่นักวิ่งแน่ ๆ เพราะเข่ามีปัญหา ก็เข้าถึงหนังสือเล่มนี้ได้ไม่ยาก หนังสือออกจะกึ่ง ๆ ปรัชญา เรียนรู้ชีวิต เป็นการแนะให้เข้ามามอง “#ตัวตนภายใน” อย่างปราศจากอคติ ว่าจริง ๆ แล้ว ที่ใช้ชีวิตอยู่ทุกวันนี้ ทำเพื่อตอบโจทย์อะไรกันแน่?
จะเลือกบางส่วนที่ฝ้ายชอบมานำเสนอนะคะ (รบกวนกดดูตามรูปข้างล่าง เพื่อเพิ่มอรรถรสค่ะ)
การแข่งขันกับคนอื่น ไม่ค่อยมีความหมายเท่ากับการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ของตัวเอง และเค้าก็เชื่อว่านักวิ่งมาราธอนส่วนใหญ่ ก็คงไม่ได้มีเป้าหมายว่าจะต้องวิ่ง “ชนะใคร” แต่วิ่งเพื่อ #เอาชนะตัวเอง เรียนรู้ตัวเอง และวิ่งจนจบระยะทางที่กำหนดไว้มากกว่า และถ้าจะต้องหา “คู่แข่ง” ให้ได้ เพื่อสร้างแรงกระตุ้น เค้าก็บอกว่า คนคนนั้นควรเป็น “#ตัวเราเมื่อวาน” ไม่ใช่คนอื่น
การวิ่งมาราธอน ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เหมือนกับที่การเป็น “นักเขียน” ก็ไม่ได้เหมาะกับทุกคนเช่นกัน และสิ่งเหล่านี้ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการบังคับ แต่ต้องเกิดจาก #แรงปรารถนาภายใน
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราเรียนรู้จากโรงเรียน ก็คือการเรียนรู้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดจะ #ไม่สามารถเรียนรู้ได้ในโรงเรียน
สิ่งที่มีค่าที่สุดที่คนที่เสียชีวิตตั้งแต่ยังหนุ่มสาวจะไม่มีวันได้สัมผัส คือการเรียนรู้ที่จะอยู่กับ #ร่างกายที่ทรุดโทรม ตามสังขารที่แก่ชราไปตามวัยที่มากขึ้น - อันนี้อ่านแล้วคิดถึงหลักพุทธของเรา ที่เรียนรู้เรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย
และชอบตอนปิดท้ายมากกก ที่เค้าพูดถึงคำจารึกบนหลุมศพของเค้า
#สรุป อ่านจบแล้ว ช่วยให้ไฟในตัว เริ่มกับมาคุกรุ่นอีกครั้ง
และมีแรงใจในการอดทนทำสิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จตามเป้าหมาย
#คนเราจะต้องการอะไรมากกว่านี้ จากการอ่านหนังสือ?
Kommentare
Kommentar veröffentlichen