เล่าประสบการณ์การสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยเยอรมัน

 


#สอนหนังสือ นักศึกษา Master Programme เหนื่อยกว่า knowledge sharing with PwC clients แฮะ คือมันคาดเดาคำถามไม่ได้เลยอ่าา แบบถ้าเจอลูกค้า เราก็พอจะคาดการณ์ได้ว่า คนเหล่านี้จะถามคำถามแบบไหน ซึ่งส่วนใหญ่มันก็จะโยงกลับไปที่แผนธุรกิจ ตัวเลข ผลกำไร ฯ ล ฯ แต่กับนักศึกษา ที่ background หลากหลายมากกกกก แบบ ก ไก่ล้านตัว

นอกจากจะมาจาก #ต่างสาขา ป. ตรี ตั้งแต่ accounting, environmental science, engineering, social science, public policy และ law อันนี้ยังพอรับไหว เพราะลูกค้า เวลาคุยเรื่อง sustainability ก็จะมาจากหลากหลายแผนก แต่ที่ยากในการ facilitate session คือ การมาจาก #นานาประเทศ ตั้งแต่ developed countries อย่างประเทศเจ้าบ้าน คือ
  • Germany ที่อาจจะเป็น target เล็ก ๆ ในแง่ที่เป็นประเทศมหาอำนาจ แล้วใช้พลังงานถ่านหินในอุตสาหกรรมหนักมาตลอดหลายสิบปี
  • South Korea ที่ก็จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพียงแต่ set นี่จะเน้นฟังอย่างเดียว ไม่มีการยกมือถาม หรือแชร์ หรือ remark ทั้งนั้น

ตามด้วยกลุ่ม developing countries แบบดิชั้น
  • Myanmar
  • Brazil
  • Uzbekistan
  • Albania
  • Somalia
  • Kenya
และอื่น ๆ ที่ไม่แสดงตัวมากนัก

วันนี้มีการถกเถียง แชร์ประสบการณ์ พร้อมวิธีแก้ปัญหา โดยหัวข้อคือ Circular economy in food industry ซึ่งรวมถึง upcoming crisis - food security พร้อม case studies ที่เราเตรียมมาจาก Brazil, Kenya, Ghana และ Germany


โอ้โหมากกกับการสอนคือ
  1. เริ่มจากการกำจัด food waste คนฝั่งแอฟริกา บ่นว่าอาหารที่ประเทศพวกเขาถูกส่งมาขายที่เยอรมนีเยอะมาก จนคนในประเทศไม่มีจะกิน แถมคนที่นี่ ก็ยังกินทิ้งกินขว้าง ทำยังไงให้ปัญหานี้มันลดลง (ตอบนางไปว่า ตอบไม่ได้ค่ะ เกินความสามารถ เพราะมันต้องอาศัยหลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะ policy ของประเทศใน EU และประเทศผู้ส่งออก กลไกตลาดหรือธุรกิจอย่างเดียว แก้ไม่ได้หรอก)
  2. สาวน้อยจาก Albania แชร์ว่า EPR (polluter pays)ไม่สามารถบังคับใช้ได้ที่ประเทศตัวเอง เพราะมีการ corruption เยอะมาก แบบเห็นจะ ๆ ว่าปล่อยนำ้ทิ้ง แต่รัฐบาลก็ไม่ปรับ ไม่เยียวยาชาวบ้าน แล้วบริษัทนี้ ก็ส่งสินค้ามาขายที่ EU ฟันกำไร บนชีวิตของชาวบ้าน
  3. สาวน้อยจาก Brazil ถามว่า “Prof. คิดว่า Plastic bottle จะหายไปจากโลกนี้มั้ย?”
    จาก case study ที่เราเอามาสอน คือ an 'edible water blob' (the #Ooho is a natural alternative to plastic bottled water, made from seaweed and plants) คำตอบ คือ ไม่มีทาง และเราไม่เคยมองว่า plastic เป็นผู้ร้าย หรือชั่วร้ายอะไร ปัญหามันอยู่ที่ overconsumption มากกว่าตัว materials
  4. สาวน้อยเยอรมัน comment เรื่อง biodegradable packaging ที่เราเอามาเป็น case study ว่า ระบบ recycle ขวด PET ของเยอรมนี ดีมากอย่างที่เราบอกไป ว่า >90% ถูกดึงกลับเข้ากระบวนการ recycling แต่ packaging แบบ biodegradable นี้ ถูกรวมทิ้งพร้อมกับ waste อื่น ๆ ที่มีอัตราการย่อยสลายแตกต่างกัน
    ดังนั้น เราเลยตอบไปว่า มันควรมีระบบเก็บขยะที่แยก packaging ลักษณะนี้ออกมา เพื่อไปเก็บไว้ให้ย่อยสลายตามเวลาของวัสดุ ที่อาจจะยาวกว่า food waste ที่จะย่อยสลายได้เร็วกว่า เป็นการบ้านของรัฐบาลเยอรมนีต่อไป
  5. หนุ่มเยอรมัน ขออนุญาต remark ว่า เพิ่งเคยได้ยินเรื่อง sustainability in business เขาไม่คิดว่าจะได้เรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน Master Programme "Transition Management" เพราะปีที่แล้ว เท่าที่เขา research มา ไม่ได้สอนเรื่องนี้ และตบท้ายด้วยบอกว่า concept sustainability ให้ความรู้สึกเหมือนแนวคิดของ communist ที่เป็นขั้วตรงข้ามกับ #ทุนนิยม


Remark แบบนี้ เพิ่งเคยได้ยินในชีวิตนี่ล่ะ แบบอึ้งเหมือนกัน แต่เราก็พอเข้าใจว่าเขาหมายถึงอะไร ซึ่งก่อนจบวัน เราก็ยืนยันว่า businesses need to take ESG factors into their consideration if not their core business ทุกวันนี้ ถ้าทำธุรกิจโดยไม่มองถึงปัจจัยในเชิงสังคม หรือ สิ่งแวดล้อม มันโบราณมากกกเลยนะ

Kommentare

Beliebte Posts aus diesem Blog

ส่งสัมภาระเกือบ 400 กิโลกรัมจากเยอรมันกลับไทยแบบ DIY

เหรียญสองด้านของการเป็น Au pair ในต่างแดน

ลองมาทำ Résumé เก๋ ๆ ด้วย Powerpoint ดูนะคะ