การเมืองกับงานหนังสือ




"เราว่าไม่ควรเอาบูธการเมืองมาปะปนในงานหนังสือ เพราะมันจะกระตุ้นคนบ้าๆ มาก่อเรื่องวุ่นวาย
คือคนไม่ชอบหนังสืออาจจะไม่ซีเรียส แต่คนที่รักหนังสือแล้วต้องอยู่ท่ามกลางความโกลาหลเพราะคนบอก "ระเบิด" ทำให้หนังสือที่ถือครองเสียหาย ถุงห่อหนังสือโดนชนตก โดนเตะโดนเหยียบ มุมเปิด ปกพับยุบเป็นจ้ำๆ มันไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะ😓 ต้องมาทนเห็นสภาพนี้ตอนห่อปกอีกอ่ะ
ครั้งหน้าควรเป็นงานหนังสือเพียวๆ"
-
This doesn't seem right on many levels. ว่าจะไม่พูดเรื่องนี้ แต่เห็น post นี้ในกลุ่มนักอ่านที่เราชอบเข้าไปสิงอยู่แล้วก็อดไม่ได้อ่ะ
-
#การเมืองกับงานหนังสือ
ปัญหาของคนไทยรุ่นก่อนหน้าเราที่เป็น Gen Y จะมองว่าการเมืองเป็นเรื่องสกปรก เรื่องไกลตัว ทั้งที่จริง ๆ แล้วตั้งแต่เกิดจนตาย ชีวิตคนเรามีตรงไหนบ้างที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง? หนังสือเป็นเพียงสื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารความคิดเห็น งานหนังสือแบบนี้ ก็ควรเป็นพื้นที่เปิดกว้างให้ผู้อ่านมี "สิทธิเลือก" ว่าจะอ่านเล่มไหน? สำนักพิมพ์ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มการเมืองฝั่งไหนก็ควรมีสิทธิที่จะเสนอขายหนังสือมั้ย? ถ้าประเทศนี้ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยและประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ
-
การเมืองมันมีอยู่ทุก booth น่ะล่ะ ถ้านิยามของการเมืองมันไม่ได้แคบอยู่แค่ฝ่ายตรงข้ามกับความคิดตนเอง
- ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน วินทร์ เรียววารินทร์
- ปีกแดง วินทร์ เรียววารินทร์
- ประวัติศาสตร์ชาติไทย
- หนังสือของ Karl Marx ทั้งหมด
- หนังสือที่เกี่ยวกับ Nazi และ WWII
แม้แต่มังงะ อย่าง One Piece ต้องเอา booth ออกไปด้วยมั้ย?
-
#ต้นตอของปัญหา กับอคติทางการเมือง
สาเหตุของปัญหาคือ booth หนังสือของพรรคการเมือง หรือเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่ตั้งใจมาก่อปัญหากันแน่?
-
งานหนังสือในประเทศโลกไหน ๆ มันคือแหล่งรวมของคนที่อาจถือได้ว่าเป็น "ปัญญาชน"​ เป็นพื้นที่ที่เปิดให้มีการแลกเปลี่ยน เสวนา อภิปราย ต่อสู้ทางความคิดอยู่แล้ว ดังนั้น หากนักเขียน ต้องการมานำเสนอผลงานของตนเอง ก็เป็นเรื่องปกติ ไม่ว่านักเขียนท่านนั้นจะเป็นแม่บ้าน เป็น LGBTQA+ เป็นอาจารย์ เป็นนักธุรกิจ หรือเป็นนักการเมือง ทุกคนมีสิทธิที่จะมางาน มาแจกลายเซ็น มาเจอคนสนับสนุน มาเจอคนต่อต้าน
-
ถ้ามาต่อต้าน ประท้วง โดยยืนถือป้ายหน้า booth ไม่ส่งเสียงโวยวาย เราว่ายังโอนะ แต่นี่มาจับตัวล็อคคอ (ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล) แล้วยังจะตะโกนว่า "มีระเบิด" (ก่อความวุ่นวายในที่สาธารณะ) แล้วยังมองไม่เห็นว่าสาเหตุของปัญหา หรือ "ช้าง" อยู่ตรงไหน นี่เกินกว่าจะทำความเข้าใจ
-
ถ้าจะขยายผลก็ต้องไปไกลว่ากลไกของรัฐทำไมยังปล่อยให้คนที่ก่อปัญหาต่อสาธารณะอย่างไม่เลือกหน้า ถึงยังลอยนวลอยู่ได้ขนาดนี้?
-
#เปลือกสำคัญกว่ากระพี้ "Form over substance"
อ่านต่อก็ยิ่งอึ้งกับเหตุผลที่ออกมาบ่น ผลกระทบจากการก่อเหตุคือทำปกหนังสือยับ WTF! เราก็เป็นคนที่ค่อนข้างหวงหนังสือ แบบถ้ามีคนมาขอยืมเล่มที่ชอบมาก ๆ สิ่งที่เราจะทำคือ "เดี๋ยวซื้อให้ใหม่นะ"
-
ที่เราหวงเพราะเวลาเราอ่าน เราชอบจดความคิด ความรู้สึกลงหนังสือ ซึ่งถ้าคนยืมทำหาย มันเหมือนทำบันทึกส่วนตัวของเราหายไปด้วยอ่ะ
-
หน้าปกเป็นรอย หรือทำน้ำหกใส่หนังสือ เราโอเคนะ เพราะตัวหนังสือยังอยู่ คุณค่าหนังสืออยู่ที่ "เนื้อหา" มากกว่าสภาพปกของหนังสือ จุดนั้นต่างหากที่เป็นสาระสำคัญของการอ่านหนังสือ
-
ไม่ต้องไปพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ควรจะห่วง "สวัสดิภาพ" ความปลอดภัยของคนที่ตื่นตระหนก (จนเหยียบหนังสือของเรายับ) ที่ไม่ได้มีความผิดอะไรเลย ทั้งยังเป็นเพื่อนนักอ่านเหมือนกันอีกด้วย

#สวัสดีวันจันทร์ #อ่านหนังสือแน่นะวิ 

Kommentare

Beliebte Posts aus diesem Blog

ส่งสัมภาระเกือบ 400 กิโลกรัมจากเยอรมันกลับไทยแบบ DIY

เหรียญสองด้านของการเป็น Au pair ในต่างแดน

ลองมาทำ Résumé เก๋ ๆ ด้วย Powerpoint ดูนะคะ