ประสบการณ์วิ่งขึ้นรถไฟและนิสัยใจคอของชาวเยอรมัน
สิ่งที่เราได้เรียนรู้วันนี้ หลังจากวิ่งเต็มสูบพร้อมลาก Rimowa มาตลอดทาง คือเห็นการทำงานเป็นทีม และการช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่าของคนแปลกหน้า
.
คุณพ่อรับหน้าที่อุ้ม baby แล้ววิ่งมาให้ทันรถไฟ จากนั้น ยืนขวางประตูรถไฟไว้ จนเรามาถึง ก็ได้อานิสงส์ไปด้วย จากนั้น คุณภรรยาก็ตามมาสมทบพร้อมล้อเข็นเด็ก และเป้ที่ดูทรงแล้วน่าจะหนักอยู่
.
พอหยุดพักพอหายใจหายคอได้แล้ว ก็แจ้งเจ้าหน้าที่รถไฟ ที่เดินมาบอกให้คุณพ่อหยุดยืนขวางประตู ได้รับทราบว่า “มีคุณผู้หญิงพิการทางสายตา กำลังเดินมายังรถไฟนี้คนเดียว คุณช่วยเธอหน่อยสิ”
ซึ่งพูดไม่ทันขาดคำ คุณผู้หญิงก็เดินมาถึงประตูรถไฟคนเดียว ด้วยไม้เท้าคู่ใจ ไม่ต้องมีคนพาเดิน ตรงนี้ แสดงให้เห็นว่า “โครงสร้างพื้นฐาน” ของชานชาลาสร้างมาอย่าง inclusive สำหรับทุกคนของสังคมจริง ๆ และไม่ใช่แค่เมืองหลวงนะ ที่เป็น inclusive city เมืองนี้ Siegen ไม่ใช่เมืองใหญ่แบบ Berlin Hamburg Stuttgart หรือ München ด้วยซ้ำ สเกลของที่นี่คือ inclusive country ที่ empower all people to freely travel on their own ต่างจากบ้านเกิดเมืองนอน ที่มีแต่ “ประเทศกรุงเทพ” เท่านั้น ที่ inclusive ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ช่วยจับมือคุณผู้หญิงตรงประตูรถไฟนี่ล่ะ แล้วบอกว่า “ต้องก้าวยาว ๆ หน่อยนะ เพราะรถไฟอยู่ต่ำกว่าชานชาลาเยอะเลย”
.
สุดท้าย ทุกคนก็ขึ้นรถไฟทัน ทั้งดิชั้น คุณพ่อ คุณแม่ baby และคุณผู้หญิงคนนี้ โดยที่รถไฟออกเดินทางช้าไปสองนาที
.
เลยอยากชวนคุยว่า ถึงแม้ประเทศนี้เมืองนี้ จะมีเรื่องให้น่าบ่นอยู่บ้าง หรือ “คนเยอรมัน” เอง ที่ขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นเสือยิ้มยาก ไม่ค่อยเป็นมิตร ไม่ชอบยุ่งเรื่องชาวบ้าน ไม่ขี้นินทา (เพราะเวลาที่นางไม่พอใจอะไร นางก็บอกตรง ๆ ใส่หน้านี่ล่ะ เลยไม่เก็บไปคิดเล็กคิดน้อยแล้วนินทาลับหลัง) แต่เมื่อถึงเวลาที่เห็นคนแปลกหน้าโดนเอาเปรียบ นางจะออกมาเถียงให้ หรือช่วยแย้งว่าทำแบบนี้กับคนต่างชาติไม่ได้ ทุกคนมีสิทธิเท่ากัน หรือเห็นใครลำบาก ก็ยื่นมือมาช่วย
.
อย่างคุณผู้หญิงตาบอดคนนี้ คุณแม่ก็ถามตั้งแต่ก่อนลงรถไฟเลย ว่า “คุณต้องไปต่อรถขบวนไหนรึเปล่า?” แล้วก็จัดการให้รถไฟอยู่รอจนเดินมาถึง
.
หรืออย่างเราเอง ที่ชอบเดินทางคนเดียวแล้วต้องแบกกระเป๋าเดินทางสองใบ ถ้าสถานีไหนไม่มีลิฟต์หรือบันไดเลื่อนเสีย เรานี่น้ำตาจะไหล เพราะแบกสองใบพร้อมกันไม่ได้แน่ ๆ ก็จะมีทั้งคนหนุ่ม คนแก่ หรือบางทีสาวเยอรมันนี่ล่ะ ยื่นมือมาช่วยถือให้ #น้ำตาซึม เลยทีเดียว หรืออย่างตอนที่เราทำมือถือหล่นไปในช่องใต้เก้าอี้ของ Deutsche Bahn แล้วเมื่อได้คืน ต้องจ่ายเงิน 5€ เป็นค่าบริการ คนเยอรมันที่ต่อคิวต่อจากเราก็ไปแย้งว่า
.
“เอ การรถไฟต่างหากที่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้เรา ที่ทำให้ไม่มีมือถือใช้ตั้งห้าวัน จนต้องซื้อมือถือใหม่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น ถ้าคุณออกแบบเก้าอี้ให้ไม่มีช่องว่างให้ของหล่นไปได้ ไม่ใช่มาเรียกเงินจากเรา ที่ไม่ได้เป็นต้นตอของปัญหา”
.
ซึ่งนิสัยคนไทยอ่ะนะ ที่เคยชินกับการกลัว authority ก็จะแบบ เออ ๆ เอาเหอะ แค่ 5€ เอง และเราก็ผิดที่วางมือถือไว้บนตักแล้วมันลื่นหล่น อย่าไปเถียงเลย ขี้เกียจมีปัญหา
.
อ้อ แล้วรถไฟที่เยอรมนี แทบจะเป็นประเทศเดียวเลยมั้ง ที่ไม่มีเครื่องให้แปะตั๋วรถไฟก่อนขึ้น ที่นี่ใช้หลักการทุกคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตัวเอง รู้หน้าที่ว่าต้องจ่ายเงิน เชื่อว่ามีคนเยอรมันโกงขึ้นฟรีบ้างแน่ ๆ ล่ะ (ส่วนคนไทยขี้โกงขึ้นฟรีตลอด มีเยอะมาก เจอกับตัวเอง แล้วมาพูดอวดภูมิใจ พร้อมด่ากระทบเราว่าโง่ ที่ไปจ่ายเงินทำไม? 🙄 หรือเอาเหรียญสิบบาทมาจ่ายแทนเงินสองยูโร คนแบบนี้ เราไม่ไปเสวนาด้วยอีกเลย แล้วเผอิญรวยอ่ะค่ะ ไม่ชอบทำอะไรที่ลดทอนศักดิ์ศรีตัวเอง) แต่สัดส่วนคนขี้โกงคงมีน้อย หรือมีไม่มากพอที่จะมีนัยสำคัญ จนทำให้การรถไฟทั่วประเทศต้องประกาศติดตั้งเครื่องตรวจตั๋วก่อนขึ้นมายังชานชาลา
.
ซึ่งระบบความรับผิดชอบต่อสังคมแบบนี้ ใช้การมาอย่างน้อย 25-30 ปีแล้ว ก็น่าจะพอบอกลักษณะนิสัยของคนประเทศนี้ได้ล่ะนะ ถ้าใช้ระบบความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตัวเองแบบนี้ที่ไทย การรถไฟคงเจ๊งตั้งแต่เดือนแรก เพราะคนโกงคงจะเยอะกว่าคนจ่าย หรือเรามองคนไทยในแง่ร้ายจนเกินไป?? 🤔🤔🤔
.
มีใครอยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับรถไฟเยอรมันก็ยินดีนะคะ บ่นมายาวเลยยย
สุดท้าย ทุกคนก็ขึ้นรถไฟทัน ทั้งดิชั้น คุณพ่อ คุณแม่ baby และคุณผู้หญิงคนนี้ โดยที่รถไฟออกเดินทางช้าไปสองนาที
.
เลยอยากชวนคุยว่า ถึงแม้ประเทศนี้เมืองนี้ จะมีเรื่องให้น่าบ่นอยู่บ้าง หรือ “คนเยอรมัน” เอง ที่ขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นเสือยิ้มยาก ไม่ค่อยเป็นมิตร ไม่ชอบยุ่งเรื่องชาวบ้าน ไม่ขี้นินทา (เพราะเวลาที่นางไม่พอใจอะไร นางก็บอกตรง ๆ ใส่หน้านี่ล่ะ เลยไม่เก็บไปคิดเล็กคิดน้อยแล้วนินทาลับหลัง) แต่เมื่อถึงเวลาที่เห็นคนแปลกหน้าโดนเอาเปรียบ นางจะออกมาเถียงให้ หรือช่วยแย้งว่าทำแบบนี้กับคนต่างชาติไม่ได้ ทุกคนมีสิทธิเท่ากัน หรือเห็นใครลำบาก ก็ยื่นมือมาช่วย
.
อย่างคุณผู้หญิงตาบอดคนนี้ คุณแม่ก็ถามตั้งแต่ก่อนลงรถไฟเลย ว่า “คุณต้องไปต่อรถขบวนไหนรึเปล่า?” แล้วก็จัดการให้รถไฟอยู่รอจนเดินมาถึง
.
หรืออย่างเราเอง ที่ชอบเดินทางคนเดียวแล้วต้องแบกกระเป๋าเดินทางสองใบ ถ้าสถานีไหนไม่มีลิฟต์หรือบันไดเลื่อนเสีย เรานี่น้ำตาจะไหล เพราะแบกสองใบพร้อมกันไม่ได้แน่ ๆ ก็จะมีทั้งคนหนุ่ม คนแก่ หรือบางทีสาวเยอรมันนี่ล่ะ ยื่นมือมาช่วยถือให้ #น้ำตาซึม เลยทีเดียว หรืออย่างตอนที่เราทำมือถือหล่นไปในช่องใต้เก้าอี้ของ Deutsche Bahn แล้วเมื่อได้คืน ต้องจ่ายเงิน 5€ เป็นค่าบริการ คนเยอรมันที่ต่อคิวต่อจากเราก็ไปแย้งว่า
.
“เอ การรถไฟต่างหากที่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้เรา ที่ทำให้ไม่มีมือถือใช้ตั้งห้าวัน จนต้องซื้อมือถือใหม่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น ถ้าคุณออกแบบเก้าอี้ให้ไม่มีช่องว่างให้ของหล่นไปได้ ไม่ใช่มาเรียกเงินจากเรา ที่ไม่ได้เป็นต้นตอของปัญหา”
.
ซึ่งนิสัยคนไทยอ่ะนะ ที่เคยชินกับการกลัว authority ก็จะแบบ เออ ๆ เอาเหอะ แค่ 5€ เอง และเราก็ผิดที่วางมือถือไว้บนตักแล้วมันลื่นหล่น อย่าไปเถียงเลย ขี้เกียจมีปัญหา
.
อ้อ แล้วรถไฟที่เยอรมนี แทบจะเป็นประเทศเดียวเลยมั้ง ที่ไม่มีเครื่องให้แปะตั๋วรถไฟก่อนขึ้น ที่นี่ใช้หลักการทุกคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตัวเอง รู้หน้าที่ว่าต้องจ่ายเงิน เชื่อว่ามีคนเยอรมันโกงขึ้นฟรีบ้างแน่ ๆ ล่ะ (ส่วนคนไทยขี้โกงขึ้นฟรีตลอด มีเยอะมาก เจอกับตัวเอง แล้วมาพูดอวดภูมิใจ พร้อมด่ากระทบเราว่าโง่ ที่ไปจ่ายเงินทำไม? 🙄 หรือเอาเหรียญสิบบาทมาจ่ายแทนเงินสองยูโร คนแบบนี้ เราไม่ไปเสวนาด้วยอีกเลย แล้วเผอิญรวยอ่ะค่ะ ไม่ชอบทำอะไรที่ลดทอนศักดิ์ศรีตัวเอง) แต่สัดส่วนคนขี้โกงคงมีน้อย หรือมีไม่มากพอที่จะมีนัยสำคัญ จนทำให้การรถไฟทั่วประเทศต้องประกาศติดตั้งเครื่องตรวจตั๋วก่อนขึ้นมายังชานชาลา
.
ซึ่งระบบความรับผิดชอบต่อสังคมแบบนี้ ใช้การมาอย่างน้อย 25-30 ปีแล้ว ก็น่าจะพอบอกลักษณะนิสัยของคนประเทศนี้ได้ล่ะนะ ถ้าใช้ระบบความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตัวเองแบบนี้ที่ไทย การรถไฟคงเจ๊งตั้งแต่เดือนแรก เพราะคนโกงคงจะเยอะกว่าคนจ่าย หรือเรามองคนไทยในแง่ร้ายจนเกินไป?? 🤔🤔🤔
.
มีใครอยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับรถไฟเยอรมันก็ยินดีนะคะ บ่นมายาวเลยยย
Kommentare
Kommentar veröffentlichen