Please look after mom บทบาทของ "แม่"​ ในโลกที่ชายเป็นใหญ่

 



Please look after mom - Kyung-Sook Shin นักเขียนชาวเกาหลีใต้

.
ซื้อหนังสือเล่มนี้มาดองไว้ตั้งแต่ 1 พ.ค. 2016 จาก Kinokuniya แต่มาอ่านจบที่เยอรมนี วันที่ 24 พ.ย. 2021 ดองไว้ 5 ปี เค็มกำลังดีเลยทีเดียว งานเขียนนี้เป็น international bestseller และได้รับการแปลเป็นภาษาไทยด้วย

จากข่าวสารในปัจจุบัน
- ทั้งเรื่องการเลือกตั้งที่เกาหลีใต้ โดยฝ่ายขวาได้รับชัยชนะและโหมกระแสต่อต้าน “feminist”
- ทั้งข่าวของคุณแตงโม ที่ประเด็นกลายเป็นการโจมตีภาพลักษณ์ของ “คนเป็นแม่”
- ทั้งเป็นการ “เล่าเรื่อง” จากมุมมองของแต่ละคน ที่อาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริง
ก็เลยตัดสินใจ #เกาะกระแส ด้วยการเอาหนังสือเล่มนี้มาพูดคุย
.
ใจความหลัก ๆ ของเรื่อง พูดถึง ครอบครัวชนชั้นกลางของเกาหลีใต้มารวมตัวกันเพื่อตามหา #แม่ ที่วันหนึ่งก็หายตัวไป
.
สิ่งแปลกใหม่สำหรับเราคือวิธีการเล่าเรื่องของหนังสือเล่มนี้ เหมือนผู้เขียนกำลัง “นั่งคุย” กับผู้อ่านอยู่ เพราะมีการใช้สรรพนาม You เกือบตลอดทั้งเล่ม โดยแบ่งออกเป็น 5 บท ที่เล่าถึงมุมมองของแต่ละคน อ่านไม่ง่าย โดยเฉพาะเรา ที่ไม่ได้หลงใหลหรือประทับใจอะไรกับ K-pop คือ ไม่ฟังเพลงของศิลปินเกาหลี, ไม่ดูซีรีย์ (มีแค่ Full House เมื่อนานมากแล้ว และ Kingdom ที่เป็นยุคโบราณผสมกับผีดิบ), มีดูหนังโรงอย่าง Parasite, และไม่เคยไปเที่ยวประเทศเกาหลีใต้ ดังนั้น พื้นฐานความรู้เรื่องวัฒนธรรมเกาหลีของเราค่อนข้างต่ำเตี้ยเรี่ยดินมากกก ทำให้การอ่านเรื่องนี้ อ่านไป ก็หงุดหงิดกับความจุกจิกต่าง ๆ นานา และกรอบของวัฒนธรรมที่ตีเส้นทางสำหรับ “ผู้หญิงที่เป็นแม่” ไว้แบบไม่มีพื้นที่ให้ยืดหยุ่นหรือประนีประนอม
.
แม้กระนั้น ก็มีหลายช่วงตอนที่เราว่า ผู้เขียนตั้งคำถามให้เราฉุกคิดถึงกรอบตรงนี้ อยู่เป็นระยะ ๆ และเชื่อว่า ผู้อ่านชาวเอเชีย จะสามารถพยักหน้าหงึกหงักระหว่างอ่าน ได้มากกว่าผู้อ่านจากซีกโลกอื่น เช่น
.
“Mom was Mom.
She was born as Mom.
Until you saw her running to your uncle like that, it hadn’t dawned on you that she was a human being who harboured the exact same feeling you had for your own brothers, and this realisation led to the awareness that she, too, had had a childhood.”
.
เรามักมีความคิดว่า แม่ เกิดมาเพื่อเป็นแม่ โดยไม่ได้คำนึงเลยว่า ก่อนที่จะกลายเป็นแม่ ผู้หญิงคนนี้ ก็ผ่านวัยเด็กและมีพี่น้องเช่นกัน มีหลายบทบาทที่ทับซ้อนอยู่ ที่บางครั้งหรือหลาย ๆ ครั้ง ลูกและสามีหลงลืมบทบาทตรงนี้ไป
.
บทบาทการดูแลลูกสาวที่ต่างจากลูกชาย ก็อบอวลอยู่ในหนังสือเช่นกัน แม่ ยังเป็นคนที่โต้เถียงอย่างรุนแรงกับพ่อเรื่องการส่ง “ลูกสาว” เรียนหนังสือ
“We don’t have anything, so how is that girl going to survive in this world if we don’t send her to school?”
และเรื่องจบลงด้วย แม่ ได้เสียสละบางอย่างไป
“..., the gold ring that used to be on Mom’s left middle finger, her sole piece of jewelry, disappeared from her hand.”
.
มีบทที่บรรยายความรู้สึกของแม่ต่อ “ลูกชายคนแรก” ที่อ่านแล้ว น้ำตาซึมได้เลย
.
มีการแสดงให้เห็นถึงบทสนทนาระหว่าง “สามีภรรยา” ที่ภรรยาต้องก้มหน้าก้มตาทำงาน และไม่มีสิทธิแสดงความคิดเห็น
.
มีการส่งเสียงที่ตอกย้ำสังคม “ชายเป็นใหญ่” ในวัฒนธรรมของตะวันออก ที่รวมไปถึงสมาชิกชายของครอบครัวเวลารวมญาติด้วย
“Why didn’t anyone help Mom brush on the new paper, when there were so many men in the family?”
.
มีชี้ให้เห็นว่า ลูก ๆ ที่เขียน to-do-list ของตัวเองในปีใหม่อย่างขมักเขม้น เพียงแต่ในรายการเหล่านั้น ไม่ได้มี “แม่” รวมอยู่ด้วย
.
มีการตีประเด็นให้เห็นว่า สามี มองข้าม “การมีอยู่ของภรรยา” อย่างไรบ้าง และตระหนักรู้ เมื่อภรรยาหายตัวไป
“..., when your wife said her stomach hurt, you were the kind of person who would reply, “My back hurts.””
.
และย้ำเตือนซ้ำ ด้วยประโยคที่บอกว่า
“Because she took care of everyone in the family, Mom was someone who couldn’t be sick.”
.
.
สุดท้าย อยากให้ลองหาดูว่า “แม่” ในเรื่องนี้ #ชื่อว่าอะไร ?
.
.
หนังสือเล่มนี้ (274 หน้า) เหมาะกับคนที่มีเวลา ไม่เร่งร้อนในการอ่านหนังสือ เพราะเชื่อว่าทุกคนบนโลกนี้มีมนุษย์ที่เราเรียกว่าแม่ทุกคนค่ะ ถ้าสนใจเรื่องสตรีนิยม ก็จะอ่านได้ลื่นไหลมากขึ้น
.
หากอ่านจบ เชื่อว่าจะมีคนหันไปกอดแม่ หรือพาแม่ไปเที่ยวมากขึ้นแน่นอน
.

ป.ล. หนังสือของ Nietzsche เรื่อง Human, All Too Human โผล่มาในหนังสือเล่มนี้ด้วยนะ

Kommentare

Beliebte Posts aus diesem Blog

ส่งสัมภาระเกือบ 400 กิโลกรัมจากเยอรมันกลับไทยแบบ DIY

เหรียญสองด้านของการเป็น Au pair ในต่างแดน

ลองมาทำ Résumé เก๋ ๆ ด้วย Powerpoint ดูนะคะ