เดินทางขึ้นเหนือ เยี่ยมเยียนเพื่อน ๆ ในช่วงเทศกาล Easter

 


#enroute2022 การเดินทางไกลครั้งแรกหลังจากย้ายมาที่เยอรมนี คือ เดินทางขึ้นเหนือ เพื่อไปพบเพื่อน ๆ และอาจารย์ (ที่มีอายุตั้งแต่ 8 ขวบ ยัน 70 ปี เลยได้ฟังมุมมองจากหลาย generation มาก) ที่ไม่ได้เจอกันมานานนน แบบเกิน 6 ปี ไม่ได้ไปเที่ยวไหนหรือที่ใหม่ ๆ เป็นพิเศษ แต่เป็นการรื้อฟื้น ทบทวนความทรงจำ และประสบการณ์ชีวิตหลังจากย้ายกลับไปอยู่ไทย 7 ปี เนื้อหาที่พูดคุย มีความเข้มข้นมากกก เรื่องการเลี้ยงดูลูก ๆ วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง และการตื่นรู้ของสาธารณชน
.
🐣 การเลี้ยงดูของชาวเยอรมันรุ่น 1940-50 จะเหมือนกับการเลี้ยงดูของสังคมไทยในปัจจุบัน คือ พ่อแม่ "สั่งสอน" ลูก ไม่ใช่ พ่อแม่ "พูดคุย ถกเถียง อภิปราย" กับลูก แต่สังคมไทยก็ค่อย ๆ เปลี่ยนไปในเชิงหลังมากขึ้นเรื่อย ๆ
.
.
📖 หนังสือเรียนของชาวเยอรมัน เพิ่งมีการสอนเรื่อง WW II ในยุคหลัง 1960 โดยเพื่อนเราที่เป็น Prof. ด้านวิศวกรรมอายุ 45 ปี บอกว่าได้เรียนเรื่องนี้ละเอียดมากในโรงเรียน
.
แต่ขณะเดียวกัน ก็รู้สึก "ประหลาดใจและผิดหวัง" ที่หนังสือเรียนไม่ได้พูดถึงสิ่งที่ชาวเยอรมันได้กระทำต่อประเทศ #อาณานิคม ในประเทศ Namibia ทวีปแอฟริกา ที่บรรพบุรุษของชาตินี้ ได้กระทำ the first(?) genocide ที่นั่น (เรื่องนี้ก็ plot คุ้น ๆ เพราะหลายเรื่องที่เรียนในห้องเรียนสมัยเด็ก ๆ มันไม่ใช่หรือบอกไม่หมดเช่นกัน โดยส่วนตัว สำหรับเรานี่คือ "อาชญากรรม" อย่างหนึ่งอ่ะ)
.
ในขณะที่ คุณพ่อคุณแม่ อายุ 70 ปี แย้งว่า ไม่เคยได้เรียนทั้งคู่ในโรงเรียนจ้าาา ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะช่วงนั้น WW II ไม่ใช่ ประวัติศาสตร์ แต่คือเรื่องที่ "เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน" ทุกคนยังอยู่ในอาการปฏิเสธ ช็อก หรือชา จากเหตุการณ์นี้
.
.
✝️ เราถามครอบครัวของ Prof ว่า Karfreitag หรือ Good Friday นี่คือวันอะไร? ตอนทานอาหารเช้ากับเด็ก ๆ คุณปู่เลยเล่าว่า เป็นวันที่เราต้องไว้อาลัยต่อการตรึงกางเขนพระเยซู ดังนั้น วันนี้จึงห้ามทำงาน ห้ามตากผ้า ฯลฯ เด็กน้อยตาฟ้า ผมบลอนด์ อายุ 8 ขวบ แย้งขึ้นมาแบบไร้เดียงสาว่า
.
"ทำไมต้องไว้อาลัยอ่ะ เพราะต่อมาพระเยซูก็ฟื้นคืนชีพนิ ไม่ได้ตายจริง ๆ ซักหน่อย"
.
moment นั้น เหล่าผู้ใหญ่อึ้งรอบโต๊ะ แล้วหัวเราะกันใหญ่ คุณปู่เลยอธิบายต่อว่า
.
"แหม นั่นก็ใช่ แต่พระองค์ก็สิ้นชีพจริง ๆ ตอนนั้นนะ เป็นการเสียสละที่เราควรระลึกถึง ฯลฯ"
.
น้องฟังไป ก็ #กลอกตามองบน ตามแบบ emoji 🙄 เป๊ะ ๆ เราแอบอึ้ง ว่าเด็กสมัยนี้ ทำไมมีความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลแบบนี้ได้นะ คือมันเป็นข้อโต้แย้งที่ fair play แต่คงไม่ถูกที่ ถูกเวลา หรือถูกใจ หากไปพูดแบบนี้ในครอบครัวที่เคร่งศาสนา
.
.
⚔️ แน่นอน เรื่องการรุกรานของรัสเซียต่อยูเครน (ขอไม่ใช้คำว่าสงครามนะ เพราะรู้สึกว่ามันไม่ใช่อ่ะ) ทุกคน #StandWithUkrain กันหมด (ยกเว้นคนหนึ่ง ที่บอกว่า ไม่เลือกข้าง แต่ก็พยายามส่งข้อมูลสนับสนุนฝ่ายปูตินให้อ่าน) บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ค่าพลังงาน แพงขึ้น แต่ก็รับได้ เป็นวิธีที่ถูกต้องมากกว่าการปล่อยไปเฉย ๆ แต่ที่ทุกคนถามหาเหตุผลจากเราคือ
.
"ทำไมคนไทยบางกลุ่มถึงเชียร์ปูติน?"
.
แบบไทยมีสถาบันอยู่ ในขณะที่รัสเซียกำจัดหรือฆ่าล้างโคตรสถาบันนะ เพื่อนเยอรมัน ก็ไม่มีใครถือหางหรืออินกับอเมริกา แต่ก็ต้านปูตินได้นะ คือคุณเกลียดเมกา ไปพร้อม ๆ กับด่าปูตินได้อ่ะ
.
อันนี้บอกไม่ถูกเหมือนกันว่า "ตรรกะ" คืออะไร
.
.
⚖️ Prof. และ อ. สอนภาษาเยอรมัน ให้ความเห็นเลยว่า จากการเจอครั้งล่าสุด เรามีมุมมองทางการเมืองที่เติบโตขึ้น จากวันนั้น ที่เราอึ้งจากการโดนแย้งในห้องเรียนเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ว่า "ประเทศไทย ที่มีการทำ #รัฐประหาร​ สำเร็จ เป็น 10 ครั้ง ภายในระยะเวลาไม่ถึง 100 ปี มันผิดปกติ" แล้วใบ้กิน เพราะเพิ่งรู้ว่า มันเป็นเรื่องไม่ปกติ ก็ตอนอายุ 30 แล้ว 😔
.
ส่วน Prof. ก็บอกว่า เขาอยู่ที่ไทย ตอนเดือนกันยายน 2006 ที่เกิดการรัฐประหารโดยกองทัพ แล้วประหลาดใจมาก ๆๆๆ ที่คนไทยไม่หือไม่อือ ดำเนินชีวิตปกติ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แค่มีรถถังมาวิ่งในเมือง และเห็นในข่าว ว่ามีเด็ก ๆ ไปยื่นดอกไม้ให้ทหาร 🌹 คือ ถ้าเกิดขึ้นที่เยอรมนีนี่ ไม่อยากจะคิด ว่าจะมีการประท้วงเบอร์ไหน
.
.
💉 สุดท้าย คือ ปัญหาโควิดนี่ล่ะ เพื่อน ๆ ก็บ่นเรื่องคนไม่ยอมฉีดวัคซีน ไม่ยอมใส่หน้ากาก บางส่วนเห็นด้วยกับการบังคับฉีดวัคซีน บางส่วนยังรู้สึกไม่แน่ใจว่าควรบังคับมั้ย? ส่วนน้อยต่อต้านการบังคับฉีดวัคซีน แล้วถามว่าที่ไทยมีปัญหานี้มั้ย?
.
อ้อ ไม่มีจ้า ไทยมีปัญหาว่าวัคซีน mRNA ถ้าอยากฉีดต้องจ่ายเงินซื้อราคาหลักพัน ทั้งที่ค่าแรงขั้นต่ำคือ 300 บาท และนั่นคือสาเหตุที่เราไปฉีดวัคซีนที่ US 😤🤬
.
ณ​ จุดนี้ ทุกคนอึ้ง ๆ และบอกว่า "เออ ปัญหาของโลกที่ 1 อย่างเราเล็กไปเลยจ้าาา"
.
.
จบรายงานบันทึกการเดินทาง และขอไว้อาลัยให้แก่ทุกชีวิตที่สูญเสียไปจากการรุกรานที่เกิดขึ้นทั้งในผืนแผ่นดินยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอื่น ๆ ตามภาพประกอบจากกรุง Hamburg

Kommentare

Beliebte Posts aus diesem Blog

ส่งสัมภาระเกือบ 400 กิโลกรัมจากเยอรมันกลับไทยแบบ DIY

ลองมาทำ Résumé เก๋ ๆ ด้วย Powerpoint ดูนะคะ

เหรียญสองด้านของการเป็น Au pair ในต่างแดน