25 days of pilgrimage – Day 1 Frankfurt am Main
Samstag 3. September
แผนการดั้งเดิมคือลงจากเครื่องแล้วจะต่อรถไฟ ICE ไป Hamburg เพื่อไปเยี่ยมผองเพื่อนที่เมือง Lüneburg ปรากฎว่า ตอนดูตั๋วรถไฟประมาณหนึ่งเดือนก่อนบิน เห็นว่ามี promotion คือ 31€ นั่งยาวจากสนามบินไปลง Hamburg เลย อืม...ราคาน่าคบ แต่อิชั้นคิดว่า “เดี๋ยวค่อยซื้อก็ได้ อีกซักพักนึง” ซึ่งคือผิด พอมาดูราคาตั๋วอีกสองสัปดาห์ต่อมา ราคาขึ้นไปสองเท่าแล้วจ้า T_T ก็เลยเสียใจไป แล้วก็เปลี่ยนใจไปขึ้นรถบัสแทน
เราเลือกใช้บริการ Flixbus ในราคา 23€ แบบ nightbus คือออกจาก Frankfurt am Main ตอน 11:45 pm แล้วถึง Hamburg ตอน 8:35 am ซึ่งก็ดี เป็นการประหยัดค่าโรงแรมไปอีกหนึ่งคืน
เมื่อมาถึงสนามบิน
สิ่งที่ต้องทำหลังจากรับกระเป๋าเดินทางแล้วก็คือหาที่ซื้อ simcard ซึ่งต้องเดินจาก
Terminal 2 มาที่ Terminal 1 ตามคำแนะนำของ Information centre ก็มาเจอ O2
ที่พอซื้อมาแล้ว ในสนนราคา 40€ อายุใช้งาน 1 เดือน รู้สึกว่ามันไม่ค่อยดีเท่าไหร่
เพราะสัญญาณขาด ๆ หาย ๆ ดังนั้น แนะนำให้ซื้อของค่ายอื่นแทนนะคะ
ถ้าต้องไปซื้อที่โน่น
สนามบินไม่ห่างจากตัวเมืองมากนัก และอากาศดีมากถึงมากที่สุด
คืออุตส่าห์แบกเสื้อกันหนาวมา ไม่ได้ใช้ประโยชน์เลย -_-
เดินเล่นชมเมืองเก่ากับคุณ P เพื่อนร่วมงานชาวเยอรมัน
ก็เลยได้คุยกันหลายเรื่อง ทั้งเรื่องงาน เรื่องผังเมือง เรื่องระบบการศึกษา
และเรื่องที่เราสนใจที่สุดคือเรื่องผู้ลี้ภัย ถึงแม้ว่า คุณ P จะประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ที่
FF แต่เขาก็เคยทำงานที่สาขาที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่ระยะหนึ่ง เขาจึงมีมุมมองที่ค่อนข้างกว้างจากประสบการณ์ที่เห็นมาทั้งในตะวันออกและตะวันตก
คุณ P ไม่รู้สึกว่าเหตุการณ์หลาย ๆ ครั้งที่เกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม ทั้งการกราดยิง การวางระเบิด การทำร้ายคนอื่นด้วยขวานหรือมีด คือรวม ๆ แล้ว 6 ครั้งได้ ไม่ได้เกิดจากผู้ลี้ภัยทั้งหมด แต่เกิดจากคนของประเทศเยอรมันเอง ที่ไม่พอใจการจัดการปัญหาผู้ลี้ภัยหรือมีแรงจูงใจส่วนตัวอย่างอื่น หรือก่อนวันที่เราบินมาถึง FF ก็เกิดเหตุการณ์ที่ตำรวจอพยพผู้โดยสารจากสนามบิน และ 100 ไฟท์บินในวันนั้นก็ถูกยกเลิก เพื่อป้องกันการก่อร้าย ซึ่งท้ายที่สุดก็ไม่ใช่
คุณ P เสริมว่า ปัญหาผู้ลี้ภัยไม่ได้ทำให้เขาหรือครอบครัวรู้สึกว่าเมืองที่อาศัยอยู่ไม่ปลอดภัยแต่อย่างใด เพียงแต่รู้สึกว่ามีคนต่างชาติเยอะขึ้นกว่าเดิมในชุมชน ยกตัวอย่างเช่น ลูกสาวและลูกชายของเขา ที่อายุประมาณ 6-8 ขวบ ก็มีหน้าที่ใหม่เพิ่มขึ้น คือการเป็น buddy ให้กับเด็ก ๆ ที่ลี้ภัยมาอยู่ที่เยอรมนี คอยช่วยให้เด็ก ๆ เหล่านั้น ปรับตัวให้เข้ากับสังคมและวัฒนธรรมของเยอรมันให้ได้อย่างราบรื่นที่สุด ซึ่งเด็กเล็ก ๆ จะมีปัญหาในการปรับตัวน้อยกว่าเด็กวัยรุ่น คุณ P เล่าว่า ทั้งโรงเรียนมีประมาณ 10 คนได้ และ 9 ใน 10 ไม่มีปัญหาในการคบเพื่อนใหม่ แต่มีเพียงคนเดียว ที่ยังมีปัญหา คือน้องคนนี้ไม่ยอมพูดเลย ดังนั้น เด็ก ๆ และคุณครูเลยไม่ทราบแน่ชัดว่าน้องพูดภาษาอะไรได้บ้าง? หรือมาจากประเทศไหน? ทำให้ทางโรงเรียนและทางภาครัฐต้องหาทางช่วยน้องเป็นพิเศษต่างจากเด็กคนอื่น
เรื่องต่อมาที่เราคุยกันคือระบบการศึกษา
เนื่องจากภรรยาของคุณ P เป็นชาวญี่ปุ่น เราก็เลยคุยกันเรื่องการเรียนของเด็ก ๆ
น้อง ๆ เข้าเรียนในโรงเรียนเยอรมันตามปกติ แต่วันเสาร์จะไปโรงเรียนญี่ปุ่นที่สอนตามระบบของญี่ปุ่นแท้
ๆ
เขาพบว่าเด็ก ๆ เรียนเยอะมากในการเรียนชั้นประถม
ทั้งพีชคณิต ทั้งภาษา ทั้งเนื้อหาอื่น ๆ ในขณะที่เด็กเยอรมัน
ยังมัวแต่เล่นโน่นเล่นนี่ ไม่ได้เรียนอะไรจริงจังด้วยซ้ำ ในช่วง 2
ปีแรกของการศึกษา ซึ่งเรามองว่าการเรียนเยอะ ๆ แบบนี้
ก็เหมือนกับระบบที่ไทยนั่นแหละ ที่เราเรียนภาษาอังกฤษกันตั้งแต่ประถม 1
หรือมีเรียนพิเศษตอนเย็นอีก ทั้ง ๆ ที่เด็กเยอรมันจะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษครั้งแรกก็ตอนประถม
3 ซึ่งเขาก็สงสัยว่าการเรียนที่เยอะขนาดนั้นตั้งแต่ยังเด็ก
จะทำให้เด็กสูญเสียเวลาและการเล่นสนุกของตามวัยอันควรมากเกินไปรึเปล่า?
บ้านของเขายังไม่เจ้าระเบียบแบบชาวเยอรมันจ๋าที่เราเคยรู้จักมา
ที่เราจะขอยกไปเล่าใน blog ต่อไป ซึ่งคุณ P ก็ให้เหตุผลว่า เพราะเด็ก ๆ
ก็เรียนหนักมากพอแล้ว คือเกือบหกวันต่อสัปดาห์
ก็เลยไม่ได้เข้มงวดมากนักเวลาอยู่บ้าน
เราก็เดินคุยกันไปเรื่อย ๆ ผ่านถนนสายรองของกรุง Frankfurt
อย่างที่เคยเล่าไปตั้งแต่ blog แรก ๆ เลยก็คือชนชาติเยอรมัน
เป็นเผ่าพันธุ์ที่ชอบการพูดคุยถกเถียงเป็นอย่างมาก ดังนั้น
ไม่ต้องกลัวเลยว่ามาเจอเพื่อนชาวเยอรมันแล้วจะไม่มีเรื่องให้คุย :D
ในขณะที่เราเดินเล่นผ่านถนน shopping
ที่เต็มไปด้วยผู้คนมากมาย เพราะเป็นวันเสาร์ที่อากาศดี ผ่านจัตุรัสเมืองเก่า เดินข้ามสะพาน Eiserne
Steg ที่วิวสองฝั่งเป็นการผสมผสานระหว่างป่าคอนกรีตที่เต็มไปด้วยตึกสูง และสถาปัตยกรรมโบราณสไตล์โกธิค
เราและคุณ P เชื่อว่า Frankfurt เป็นเมืองเดียวในเยอรมนีที่มีตึกระฟ้า เนื่องด้วยหลาย
ๆ เหตุผล เช่น เป็นศูนย์กลางการเงินการธนาคาร หรือไม่มีกฎหมายห้ามสร้างตึกสูง
เหมือนที่ München ที่กำหนดไว้ว่าตึกที่สร้างใหม่ ห้ามสูงกว่า Frauenkirche โบสถ์สัญลักษณ์กลางเมืองนั้น
สิ่งที่ต้องปรับตัวอย่างแรกตอนมาถึงที่นี่ คือเรื่อง
“ทางม้าลาย” เพราะตอนที่กำลังจะเดินข้ามถนน คุณ P เห็นเราชะงักตรงทางม้าลาย
แล้วมองรถ ว่าจะหยุดให้เดินมั้ย? คุณ P ก็บอกเลยว่า
“ที่นี่เยอรมนี ไม่ใช่เมืองไทย เดินข้ามไปได้เลย
ยังไงรถต้องหยุดอยู่แล้ว”
เขาเคยมาเมืองไทย 2-3 ครั้ง แล้วเรียนรู้ว่าที่เมืองไทย
มีทางม้าลายก็เหมือนไม่มี -_-
หลังจากทานอาหารเย็นกับครอบครัวของคุณ P ซึ่งก็คือ BBQ
homemade คู่กับซอสและเครื่องเคียงแบบญี่ปุ่น
ก็ได้เวลาออกเดินทางมายังป้ายจอดรถบัส Flixbus ซึ่งมาถึงก็มีคนนั่งบ้างยืนบ้าง
รอขึ้นรถบัสอยู่เต็ม
โบกมือลา Frankfurt am Main จนกว่าจะถึงวันบินกลับไทยนะคะ
Kommentare
Kommentar veröffentlichen