เยอรมัน - ตัวแม่แห่งการเก็บขวดเพื่อรีไซเคิล


จากความเห่อ ChatGPT เพื่อจะทดลองว่าใช้การได้จริงขนาดไหน?​ เลยลองทดสอบด้วยคำถามว่า 

"อะไรคือปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเก็บขวดพลาสติกกลับเข้าระบบรีไซเคิล?"

จากภาพของสถิติในปี 2015 ที่มักได้รับการพูดถึงก็คือ เยอรมนี มีอัตราการรีไซเคิลขวด PET สูงถึง 94% เทียบกับประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงแล้ว ห่างกันแบบไม่ติดฝุ่นเลยทีเดียว คำถามคือ "เยอรมนีทำได้ยังไง?" เวลาคุยเรื่องนี้กับบริษัทใหญ่ ๆ ในไทยหรือตามวงสัมมนาต่าง ๆ เราจะได้ยินคำว่า 

"ก็คนเค้ามี #จิตสำนึก ไง คนไทยไม่มีหรอก"

ตรงนี้ คนเยอรมันเองได้ยินก็จะส่ายหัวว่า ไม่จริงหรอก แต่ที่มันสำเร็จ ก็เพราะว่ามีปัจจัยเกื้อหนุนมากมาย ที่สอดคล้องกับที่คุยกับคุณ Open AI ที่ก็ร่ายยาวมา ตามที่เรายิงคำถามไป ซึ่งอ่านแล้วค่อนข้างจะพยักหน้าหงึกหงักว่า "เออ ก็พูดได้ครอบคลุมอยู่นะ ที่นี้ จะตรวจการบ้านนักศึกษาได้ยังไงล่ะ ถ้า AI จะตอบได้หรูหราแบบนี้"

  1. อัตราการเก็บขวดคืนที่สูง เนื่องมาจาก "ระบบการจัดเก็บ" ทั่วประเทศที่มีประสิทธิภาพสูง
  2. "รัฐบาล" สนับสนุนอย่างจริงจัง ด้วยการทั้งให้เงินอุดหนุนกิจกรรมส่งเสริมการรีไซเคิล และการออกกฎหมายที่จูงใจให้บริษัทเอกชนต้องร่วมในระบบรีไซเคิลด้วย
  3. "การตระหนักรู้ของประชาชน" ที่มีสูงมากต่อความสำคัญของการรีไซเคิลและความยั่งยืนในภาพรวม
  4. "โครงสร้างพื้นฐาน"​ สำหรับกระบวนการรีไซเคิล ตั้งแต่โรงงานรีไซเคิล พื้นที่ในการแยกขยะ ระบบขนส่ง ที่เป็นเครือข่ายทั่วประเทศ
  5. "การร่วมมือของทุกภาคส่วน" ตั้งแต่บริษัทเอกชน ภาครัฐ และหน่วยงานอื่น ๆ ทำให้การรีไซเคิลของเยอรมนีมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงมาก

ที่นี้ สิ่งที่เราสนใจ คือ การสร้างความตระหนักรู้นี่ล่ะ เพราะต่อให้มีระบบที่ดีแค่ไหน แต่ประชาชนไม่ใส่ใจที่จะเอาขวดมาคืน ระบบที่มีก็สูญเปล่า ซึ่งคำตอบที่เราได้สัมผัสมา กับทั้ง ChatGPT ตอบมา เป็นอย่างเดียวกันสุด ๆ คือ "การศึกษา" ซึ่งต้องเริ่มกันตั้งแต่ "ปฐมวัย" 

ระบบการศึกษาเยอรมัน จะมีหลักสูตรเรื่อง "สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน" ฝังอยู่ตั้งแต่ kindergarten เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของการลดขยะ การใช้ซ้ำ และการแยกขยะ ซึ่งหากได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก มันก็จะไม่ฝืนเมื่อโตขึ้น และจากที่ไปเยี่ยมบ้านเพื่อน ๆ ชาวเยอรมัน หน้าที่ในการแยกขยะ เก็บเอาขยะไปทิ้งตามตารางเก็บขยะของเมือง เป็นหน้าที่ของหนู ๆ ตัวจิ๋วที่อายุไม่ถึง 10 ขวบทั้งนั้น


อีกส่วนก็คือ "นิสัยประหยัดมัธยัสถ์" ของคนเยอรมัน เป็นจุดที่ถูกเอามาใช้ ด้วยการตั้ง "ค่ามัดจำ" ขวด ทำให้คนเยอรมันที่ขี้เหนียว (0,30€ ก็จะเอาคืนอ่ะ) เป็นแรงจูงใจในการนำขวดไปคืนที่ supermarket เพื่อได้รับเงินตรงนี้กลับมา

และส่วนสุดท้าย คือ peer pressure แบบเพื่อนบ้านคนเยอรมัน เค้าจะติเตียนแบบไม่เกรงใจ ถ้าเราแยกขยะผิด เพราะเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน เมื่อคนเก็บขยะตรวจพบว่า "มีคนทิ้งขยะผิดประเภท" ลงในถังขยะสำหรับกระดาษเท่านั้น ก็จะมีการลงโทษ เช่น ติดป้ายว่า "มีการแยกขยะผิด" ดังนั้น อพาร์ทเมนต์ทั้งตึกต้องรับผิดชอบร่วมกัน หาคนทำผิด แล้วสอนเค้าให้ทำให้ถูก (มายกมือบอกว่า โดน flatmate สอนแยกขยะตั้งแต่เดือนแรก ๆ ที่ไปอยู่เลย เขิลจุง)

#สรุป ช่วยกันคนละไม้ละมือเป็นเรื่องสำคัญ แต่หากปราศจากองคาพยพอื่น ๆ ที่กล่าวไปข้างต้น ดังที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โอกาสสำเร็จก็เป็นไปได้ยากมากกก เริ่มให้การศึกษากับเด็ก ๆ แล้วเราจะเห็นจิตสำนึกเมื่อพวกเขาโตขึ้น และถ้าใครสนใจว่าการแยกขยะหรือโครงสร้างและนโยบายของภาครัฐมีผลอย่างไรต่อ climate change เข้าไปเล่นเกม Net Zero ได้ที่นี่ค่ะ












 

Kommentare

Beliebte Posts aus diesem Blog

ส่งสัมภาระเกือบ 400 กิโลกรัมจากเยอรมันกลับไทยแบบ DIY

เหรียญสองด้านของการเป็น Au pair ในต่างแดน

ลองมาทำ Résumé เก๋ ๆ ด้วย Powerpoint ดูนะคะ