How Democracies Die ประชาธิปไตยคืออะไรน้าา???

 


บทความนี้เป็นการรวบรวมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนท่านหนึ่งเรื่องหนังสือที่ได้อ่านมานะคะ เขียนไว้ตั้งแต่ 11 ตุลาคม 2020 สองปีผ่านไป กลับมาอ่านใหม่ ก็รู้สึกว่ายังไม่ต่างจากเดิมเลย

หนังสือ How Democracies Die พิมพ์ครั้งแรกปี 2018 ใช้เวลาอ่านประมาณ 15 วัน สำหรับหนังสือ 231 หน้า

บทนำ และบทสรุปกล่าวถึง ประชาธิปไตยในประเทศไทย ส่วนที่เหลือจะเป็นการเล่าถึง Trump ซะเป็นส่วนใหญ่ และเป็นการพูดถึงว่าปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ประชาธิปไตยของอเมริกาอยู่ในจุดที่ถดถอยหรือสั่นคลอน

-

หนังสือพูดถึงสาเหตุที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า ประชาธิปไตย จะตายจากการใช้ กำลังทหารผ่านควันปืน โดยยกตัวอย่างประเทศไทยเป็นกรณีศึกษา ในยุคของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หากแต่สิ่งที่หนังสืออยากพูดถึงในรายละเอียด คือการสั่นคลอนของประชาธิปไตยที่เหล่า อำนาจนิยม/เผด็จการแอบซ่อน ปลอมตัว หรือแฝงตัวมาในคราบผู้นำผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นแบบที่แยบยลกว่าการปล้นเอาโต้ง ๆ

-

ชอบที่ผู้เขียน เอาประวัติศาสตร์การเมืองของอเมริกา ตั้งแต่การก่อร่างสร้างประชาธิปไตยในกรุง Philadelphia (ที่เราก็ได้ไปดูของจริงมา เมื่อต้นปีนี้ ก่อนโควิดจะระบาด) มาบอกเล่าการเจริญเติบโต ความแข็งแกร่งของเหล่าประธานาธิบดีรุ่นแรก ๆ และยังเทียบเคียงกับประเทศอื่น ๆ ที่นำเอารัฐธรรมนูญของอเมริกาไปใช้ทั้งดุ้น แต่กลับไม่ได้ประชาธิปไตยมาจริง ๆ

-

สาเหตุที่หนังสือกล่าวถึงก็น่าสนใจมาก และวิธีการเปลี่ยนประชาธิปไตยเป็น "อำนาจนิยม" ก็มีรูปแบบที่เทียบเคียงได้ เหมือนเป็นคู่มือเลยล่ะ - จะว่าไป Trump นี่ ก็ใช้ยุทธศาสตร์เหมือนประเทศไทยในหลายจุดเลย - อ่านแล้วก็เข้าใจการเปลี่ยนผ่าน ยุทธศาสตร์ในการปกครองมากขึ้นๆ และที่สำคัญ มันมี unwritten things ที่สำคัญมากในการทำให้ประชาธิปไตยมันดำรงอยู่อย่างแข็งแรงอ่ะ ไม่ใช่แค่พึ่งพารัฐธรรมนูญอย่างเดียว วัฒนธรรม คุณค่า norm ต่าง ๆ มีส่วนอย่างมาก

คุณเพื่อนที่อาศัยอยู่ที่อเมริกามองว่า

"เป็นหนังสือประชาชนภายใต้การปกครองแบบประชาธิปไตยต้องอ่าน นอกเหนือจาก 1984 ของ George Orwell มันทำให้เข้าใจมากขึ้นว่าจริง ๆ ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่กฎหมายและการเลือกตั้ง แต่เป็นความเชื่อมั่นในระบบแม้ในวันที่อำนาจและผลประโยชน์มากองให้ผู้ปกครองเลือกอยู่ตรงหน้าก็ตาม

ช่วงนี้เลือกตั้งที่นี่กำลังร้อนแรง ว่าจะหาเวลาย้อนกลับไปอ่านดูแล้วเอามาทาบดูซิว่าวิสัยทัศน์ของคนเขียนตรงกับสถานการณ์จริงมาน้อยแค่ไหน เอาจริง ๆ ถ้าคุณฝ้ายได้มาอยู่จะรู้ว่าประชาธิปไตยอเมริกันก็มีความย้อนแย้งมากอยู่เหมือนกัน คนขาวที่อยู่ในอำนาจในบางรัฐก็ยังพยายามกีดกันคนผิวสีไม่ให้ออกไปเลือกตั้ง เชื่อมั้ยว่าวันเลือกตั้งในอเมริกาไม่ใช่วันหยุด ตรงนี้กระทบชนชั้นแรงงานมากกฎหมายสวัสดิการลางานก็ไม่มีอีก คนงานค่าแรงขั้นต่ำก็ลางานไปเลือกตั้งไม่ได้ และมีลูกไม้อะไรอีกเยอะแยะ เรื่องการเหยียดสีผิวมันหยั่งรากลึกล่ะนะ แต่ตอนนี้อเมริกา ก็ไม่ใช่ประเทศของคนขาวเป็นส่วนใหญ่ขนาดนั้นแล้ว และในอนาคตยิ่งจะมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและสีผิวมากยิ่งขึ้นไปอีก คงต้องรอดูพลังของคนรุ่นใหม่นี่ล่ะ

ฟัง debate ล่าสุดก็รู้สึกว่า เมื่อก่อนคนอาจจะเลือก ปธน เพราะนโยบายที่จะทำเป็นเรื่องหลัก พรรคเห็นเรื่องรอง ตอนนี้เลือกแค่ว่าจะตัดสินใจด้วยเหตุผลหรืออารมณ์ (ตัดสินจากคำตอบของตัวแทนลงสมัคร Vice President ทั้งสองคนนะ) 

แอบเสียดายที่คนเขียนมาพูดในงานหนังสือที่มหา'ลัยที่แฟนเรียนอยู่ปีก่อนหน้าที่เราจะมา เลยอดเข้าไปฟังอะไร ๆ ที่เค้าไม่ได้เขียนถึงในหนังสือครับ"

-

และเป็นที่แน่นอนว่า หนังสือทุกเล่มที่ฝ้ายอ่านเกี่ยวกับการเมืองการปกครองจะต้องมีการกล่าวถึง Hitler และนาซีเยอรมัน เล่มนี้ ผู้เขียนก็ไม่พลาด ที่จะกล่าวถึงที่มาที่ไปของการเถลิงอำนาจของนาซี จนถึงระบอบปัจจุบันของเยอรมนีแบบพอสังเขป

-

#feeling ก็สนุกดีนะ ที่ได้เห็นรูปแบบ ซ้ำ ๆ ในประวัติศาสตร์ (ถึงแม้จะมีหลายส่วนที่ไม่เข้าใจ เพราะไม่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเมืองเท่าไหร่ ยิ่งระบอบของสหรัฐ ยิ่งไม่ค่อยรู้เลย) แล้วก็ได้เรียนรู้ว่า มันก็เหมือนหนังฉายซ้ำ ถ้าเราไม่เปลี่ยน "ตัวแปร"

-

เห็นว่าที่ตอนนี้คนเริ่มสนใจเหตุการณ์ 6 ตุลา 14 ตุลา หรือจะย้อนไปปี 2475 ก็ไม่แปลกนะ มันไม่ใช่การก้าวถอยหลัง แบบที่กลุ่มไทยภักดีออกมาให้ความเห็น แต่เป็นการ "ทำความเข้าใจ" ว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง แบบที่ อ. โกวิท บอกไว้อ่ะ

.

“ผู้ไม่รู้จักเรียนรู้จากอดีต

จะไม่เข้าใจในปัจจุบัน

และมองไม่เห็นอนาคต”

.

อดีต ปัจจุบัน อนาคต มันสืบเนื่องกันแบบแยกกันไม่ออก #DARK #sicmunduscreatusest 




Kommentare

Beliebte Posts aus diesem Blog

ส่งสัมภาระเกือบ 400 กิโลกรัมจากเยอรมันกลับไทยแบบ DIY

เหรียญสองด้านของการเป็น Au pair ในต่างแดน

ลองมาทำ Résumé เก๋ ๆ ด้วย Powerpoint ดูนะคะ