นิยายสืบสวนที่กลายร่างเป็นหนังสือชิมอาหารที่น่าเบื่อสุดเท่าที่เคยอ่านมา



กว่า 200 หน้าที่ทนอ่าน "คุณนั่นแหละ... คือฆาตกร" ของ Kanae Minato เสียเวลาชีวิตมากเลยอ่ะ ซื้อหนังสือเล่มนี้จากสนามบินสุวรรณภูมิตอนกำลังจะบินกลับมาที่เยอรมนีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 โดยปกติเป็นแฟนเดนตายของ Agatha Christie, Sherlock Holmes, คินดะอิจิ ฉบับมังงะ และโคนัน คืออ่านได้ไม่หลับไม่นอนอ่ะ ส่วนหนังสือสืบสวนสอบสวนของชาวญี่ปุ่นเราจะอ่านจบภายในคืนเดียว หรืออย่างมากก็ 2-3 วัน เช่น คดีฆาตกรรมบ้านสิบเหลี่ยม คฤหาสน์แมวดำ หมู่บ้านชิราคาวาโกะ และอื่น ๆ ซึ่งก็อิ่มเอมใจตามสมควร 

แต่เล่มนี้ คือเพิ่งอ่านจบวันที่ 7 มกราคม 2566 ณ เวลา 23:22 น. ตามเวลาเยอรมนี คือกี่เดือนนะ?​ แบบทนอ่านให้จบเพราะคิดว่า "อาจจะมีอะไรบ้างน่ะ"​ คือเกือบ 5 เดือน พอจบแล้วอยากเขวี้ยงทิ้ง โกรธมากกก คือทั้งความน่าเบื่อที่เนือย ๆ ทั้งตัวเอกฟุคาเสะ ที่นิสัยโคตรจะน่ารำคาญ เป็นแบบที่เราคงไม่คิดจะสุงสิงด้วย ทั้งความโลกสวยของตัวละครหญิง และไม่เข้าใจว่าจะใส่เรื่องอาหารมาทำไมเยอะแยะ คือพอเดาทางได้ว่า มันคงจะมีอะไรเกี่ยวกับอาหารนี่ล่ะ แต่นี่มันจำเป็นมั้ยที่ครึ่งเล่มเป็นเรื่องอาหาร? 

พอมีตอนที่พูดถึงจัดคนตามประเภทสี แดง ฟ้า ส้ม และสีใส ก็เริ่มรู้สึกว่า "เออ อาจจะมีมิติอะไรเพิ่ม" และคิดถึง "ชายไร้สีกับปีแสวงบุญ"​ ของ Murakami แต่กระนั้น plot เรื่องต่อไป ก็ไม่เห็นจะมีการใช้ shade ของสีมาเชื่อมกับมิติตัวละครเลย ตัวละครแบนราบมากกก แบบ Fifty Shades of Grey ยังดูมีมิติกว่า (ถึงแม้ว่าเราจะเคยดูแต่หนัง ภาคแรก มั้ง ไม่เคยอ่านหนังสือ อ่านแต่พวกวิจารณ์หนังตาม feed facebook)

ให้คะแนน 1 เต็ม 5 เพราะปัจฉิมบทเท่านั้นเลยนะ การเปิดเผยปมตัวละครลับก่อนหน้านั้น ก็น่าเบื่อมากกกก คือเดาทางได้แล้วอ่ะ สงสัยว่า plot แบบนี้ดีงามขนาดได้ทำเป็น series ของฝั่งญี่ปุ่นเลยเหรอ?​ การให้คะแนนแบบนี้กับหนังสือภาษาไทย ที่เราเข้าใจทุกตัวอักษรเป็นอะไรที่น่าโมโหมากกกกกก 

นี่อ่านที่คนเยอรมันวิจารณ์เล่มนี้ใน GoodRead (เพราะได้รับการแปลเป็นภาษาเยอรมันชื่อว่า "Schuldig" หรือแปลไทยก็ "ความรู้สึกผิด")  ก็ให้ 1 ดาว จนถึงไม่ให้ดาวเลยนะ ชาวไทยที่อ่านแล้วมีความเห็นยังไงบ้างนะ?



















 

Kommentare

Beliebte Posts aus diesem Blog

ส่งสัมภาระเกือบ 400 กิโลกรัมจากเยอรมันกลับไทยแบบ DIY

ลองมาทำ Résumé เก๋ ๆ ด้วย Powerpoint ดูนะคะ

เหรียญสองด้านของการเป็น Au pair ในต่างแดน